Page 44 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 44
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
บทนํา
แหล่งมรดกโลก (World Heritage Site) เป็นพื้นที่ที่เป็นมรดกและสมบัติที่ทรงคุณค่า
และสําคัญของมนุษยชาติ ที่ได้รับการยกย่องผ่านองค์การสหประชาชาติ (United Nation, UN) ในส่วนของ
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational
Scientific and Cultural Organization, UNESCO) ซึ่งแหล่งมรดกโลกแบ่งออกเป็นสามประเภทคือ
แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ และแหล่งมรดกโลกผสมระหว่างทางวัฒนธรรม
และทางธรรมชาติ ซึ่งขั้นตอนการนําเสนอชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนสถานที่สําคัญของแต่ละประเทศเป็นแหล่งมรดก
โลกนั้น รัฐบาลแต่ละประเทศต้องคัดเลือกสถานที่และเตรียมข้อมูลเพื่อนําสถานที่ที่สําคัญในระดับชาติเข้าไปสู่
บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) หลังจากสถานที่แห่งนั้นได้อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นเป็นที่เรียบร้อย
แล้ว สถานที่นั้นๆ จะได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองในแต่ละชุด และสถานที่นั้นๆ จะเข้าสู่
การกลั่นกรองขั้นสุดท้ายกับคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) หลังจากนั้นสถานที่
แห่งนั้นก็จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก โดยรัฐบาลในประเทศนั้นๆ ต้องร่วมมือกับทุกภาคส่วน
ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับสากลเพื่ออนุรักษ์แหล่งมรดกโลกให้คงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ตลอดไป
มิฉะนั้นแหล่งมรดกโลกแห่งนั้นจากถูกขึ้นบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กําลังตกอยู่ในภาวะอันตราย (List of
World Heritage in Danger) ซึ่งถือดัชนีชี้วัดถึงการดําเนินนโยบายสาธารณะในการอนุรักษ์และการจัดการ
แหล่งมรดกโลกที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล
ประเทศไทยได้เข้าเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรม
และธรรมชาติ (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural
Heritage) เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2530 (กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม, 2562)
โดยประเทศไทยได้พยายามดําเนินการเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีของข้อบังคับของอนุสัญญาฯ ซึ่งองค์การ
การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งเป็นทบวงชํานาญพิเศษภายใต้
องค์การสหประชาชาติซึ่งเป็นผู้อํานวยการและผู้ประสานงานให้รัฐที่เป็นภาคีสมาชิกปฏิบัติตามอนุสัญญา
ดังกล่าวซึ่งภาคีสมาชิกตามอนุสัญญาฯ ต้องดําเนินการที่จะอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก ดังนี้
1. กําหนดนโยบายทั่วไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมและมรดก
ทางธรรมชาติมีประโยชน์ต่อวิถีชีวิตของประชาชน และเพื่อบูรณาการการคุ้มครองป้องกันมรดกทางวัฒนธรรม
และมรดกทางธรรมชาติไว้ในรายละเอียดของการวางแผนการดําเนินงานของรัฐ
2. ภายในขอบเขตอํานาจอธิปไตย หากยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรรับผิดชอบ
ดําเนินงานเพื่อการนี้ จะต้องจัดให้มีอย่างน้อยหนึ่งหน่วยงาน/องค์กรหรือมากกว่า เพื่อดําเนินงานต่างๆ
ในการคุ้มครองป้องกันการอนุรักษ์ และการนํา เสนอมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ โดยมี
เจ้าหน้าที่และกระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อรับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไป
3. พัฒนาการศึกษาวิจัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการ เพื่อนําไปใช้
ในการดําเนินงาน รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพของประเทศให้มีความพร้อมในการแก้ไขปัญหาภัยอันตรายที่คุกคาม
ต่อมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ
37 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย