Page 45 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 45
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
4. กําหนดมาตรการที่เหมาะสมทั้งทางด้านกฎหมาย กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาการ การบริหารจัดการ และการเงินเท่าที่จําเป็นเพื่อการจําแนกรายละเอียด การคุ้มครอง ป้องกัน การ
อนุรักษ์ การนําเสนอ และการทํานุบํารุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ
5. สนับสนุนให้มีการก่อตั้งหรือพัฒนาศูนย์การฝึกอบรมในระดับชาติหรือระดับ
ภูมิภาค เพื่อฝึกอบรมในด้านการคุ้มครองป้องกัน การอนุรักษ์ และการนําเสนอมรดกทางวัฒนธรรม และมรดก
ทางธรรมชาติ รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อการปฏิบัติงานตามภารกิจดังกล่าว
ด้วยเงื่อนไขทั้งห้าประการที่รัฐในภาคีสมาชิกของรัฐภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครอง
มรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่ต้องดําเนินการ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องสร้างกฎหมาย นโยบายสาธารณะ
จัดสรรงบประมาณ จัดตั้งองค์กรและจัดสรรบุคลากรภาครัฐที่จะดําเนินการตามสัตยาบันที่ให้ไว้กับอนุสัญญา
ดังกล่าว
แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกในภูมิภาคตะวันตก
แหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกในกลุ่มจังหวัดภูมิภาคตะวันตกประกอบด้วยพื้นที่
4 แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง กลุ่มป่าแก่งกระจาน ทางรถไฟสายมรณะและพระปฐม
เจดีย์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางการบริหารรัฐกิจจํานวน 5 จังหวัด คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัด
ราชบุรี จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งแหล่งมรดกโลกและพื้นที่เตรียมเป็นแหล่งมรดกโลกทั้ง
4 แห่ง มีความสําคัญในระดับชาติและระดับนานาชาติ ดังนี้
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง (Thungyai – Huai Kha Khaeng
Wildlife Sanctuaries)
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งประกอบด้วยเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 2 แห่ง
คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้ง
สองแห่งจะอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดคือ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตากและจังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 6,427
ตารางกิโลเมตร ซึ่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.
2534 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ซึ่งถือเป็น
พื้นที่ที่มีความสําคัญคือ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้งมีลักษณะทางชีววิทยาที่มีความงาม
ตามธรรมชาติที่โดดเด่นและมีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม รวมถึงลักษณะทางธรรมชาติมากมายและถือ
เป็นแหล่งต้นน้ําที่อุดมไปด้วยระบบนิเวศแม่น้ํา และลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
สร้างภูมิทัศน์ที่น่าทึ่งและแหล่งที่อยู่อาศัยของระบบนิเวศป่าชั้นเยี่ยม
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้งเป็นตัวแทนระบบชีวนิเวศ
ที่โดดเด่นและไม่ซ้ําใครในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นพื้นที่ที่มีกระบวนการทางนิเวศวิทยาและชีวภาพที่
สําคัญ รวมถึงที่อยู่อาศัยและคุณสมบัติทางชีวภาพ ดังนั้นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้งเป็น
ตัวอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดของป่าเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
38 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย