Page 46 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 46
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้งมีชนิดพันธุ์และความหลากหลาย
ของระบบนิเวศ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชป่าและสัตว์ป่าหลายสายพันธุ์ และที่สําคัญอย่างยิ่งเป็นสัตว์
เฉพาะถิ่นและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และถือว่าเป็นระบบนิเวศที่มีของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างน้อยหนึ่งในสามใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. กลุ่มป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex)
กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในแนวทิวเขาตะนาวศรี
มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบไปด้วย
พื้นที่อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่ง คืออุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยาน
แห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจันและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ําภาชี มีพื้นที่รวม
ทั้งหมด 4,722.1 ตารางกิโลเมตร
กลุ่มป่าแก่งกระจานได้ถูกเสนอชื่อเป็นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ในปี
พ.ศ. 2554 เพื่อรอการพิจารณาจากคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) เข้าบรรจุ
รายชื่อเป็นแหล่งมรดกโลก โดยประเทศไทยได้เสนอความสําคัญของกลุ่มป่าแก่งกระจานสอดคล้องกับ
อนุสัญญามรดกโลก คือ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติที่สําคัญ สําหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทาง
ชีวภาพ และเป็นแหล่งกําเนิด รวมถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์ที่มีคุณค่าต่อสากล ที่โดดเด่น
จากมุมมองของวิทยาศาสตร์หรือการอนุรักษ์ และเป็นแหล่งที่พบชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ซึ่งกลุ่มป่าแก่งกระจาน
ถือเป็นพื้นที่ที่รัฐบาลไทยให้ความสําคัญกับการเป็นแหล่งมรดกโลกอย่างมาก
3. ทางรถไฟสายมรณะ (Death Railway)
ทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 การก่อสร้าง
ใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 เพื่อใช้เป็น
เส้นทางยุทธศาสตร์จากประเทศไทยผ่านประเทศพม่าเพื่อไปสู่ประเทศอินเดีย เส้นทางรถไฟสายมรณะ
ถือเป็นอนุสรณ์สถานของสงครามมหาเอเชียบูรพาและสงคามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันทางรถไฟสายมรณะ
อยู่ระหว่างศึกษาและจัดทํารายงานเบื้องต้นเพื่อเสนอเข้าสู่คณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage
Committee) ให้เข้าไปอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งพื้นที่ที่คาดว่าจะทําการขึ้นทะเบียน
เป็นแหล่งมรดกโลกของทางรถไฟสายมรณะ ได้แก่ สถานีชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี สะพานข้าม
แม่น้ําแควสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก สุสานทหารสัมพันธมิตรช่องไก่ อนุสาวรีย์ไทยานุสรณ์ ที่หยุดรถไฟ
ถ้ํากระแซ อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด จังหวัดกาญจนบุรี รวม 7 สถานที่
ทางรถไฟสายมรณะมีคุณค่าต่อการเป็นมรดกโลก คือ
- เส้นทางรถไฟสายมรณะ เป็นตัวอย่างที่แสดงถึง ตัวอย่างลักษณะอัน
เด่นชัด ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม หรือ Human interaction with the environment
ส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายมรณะได้ถูกออกแบบให้สอดคล้องไปกับธรรมชาติ
39 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย