Page 58 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 58
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับบทบาทและผลกระทบ
13
ที่เกิดขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย
The Eastern Economic Corridor Development (EEC) project and its role and impact on
the local government organization of Thailand.
14
กันยรัตน์ ไมยรัตน์
บทคัดย่อ
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์
ไทยแลนด์ 4.0ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยในระยะแรก เป็นการยกระดับพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี และระยองให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนํา เป็นประตูเชื่อมโยงเอเชีย (Gateway to Asia) ด้วยการพัฒนา
อย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรม
ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการ
แข่งขันของประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดให้เชื่อมโยงกับโครงการของรัฐบาล เพื่อพัฒนาขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศซึ่งในการขับเคลื่อนเพื่อที่จะผลักดันให้โครงการ EEC ประสบ
ความสําเร็จได้นั้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อทําให้โครงการนี้สามารถดําเนิน
ต่อไปได้และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยบทความนี้จะกล่าวถึงบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีต่อ
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยเสนอแนะและสร้างโมเดลแนวคิดในลักษณะการ
นําแนวคิดด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) การเสนอโมเดลคิดนี้ขึ้นเพราะ เนื่องจากปัจจุบัน
NPM ถูกนํามาใช้ในระบบราชการกันอย่างแพร่หลายแต่อาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้มี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และบทความนี้ก็ได้ศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นของไทยจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยใช้หลักการวิเคราะห์ใน
แนวทางของเศรษฐศาสตร์ทางการเมือง เพราะบทบาทและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้โครงการ
พัฒนาไปสู่การเปิดประตูประเทศไทยเชื่อมโยงเอเชียได้อย่างดีในอนาคต
คําสําคัญ : โครงการ EEC , ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
13 บทความนี้มาจากการนําเสนอในการประชุมวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 12 ของสมาคม
รัฐประศาสนศาสตร์ร่วมกับสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยรังสิต
14 กันยรัตน์ ไมยรัตน์, นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและการพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต,
deerkanyarat@gmail.com
51 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย