Page 61 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 61

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                              2.    ด้านการลงทุน การให้สิทธิ์การเช่าที่ดิน ราชพัสดุ สิทธิ์การเช่าที่ดินราชพัสดุ ถึง 50 ปี และ

                    สามารถพิจารณา ต่ออายุอีก 49 ปี การมีระบบ One-stop Service อํานวยความสะดวกให้กับนักลงทุน
                    ให้บริการข้อมูลข่าวสารการขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการการค้าการส่งออกนําเข้าในจุดเดียวการ
                    อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินโดยอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับ การส่งเสริมเงิน
                    สนับสนุนค่าใช้จ่าย ในการลงทุน การวิจัยเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุน การวิจัย และพัฒนาการส่งเสริม
                    นวัตกรรม หรือการพัฒนาบุคลากรเฉพาะด้าน ของกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายการให้วีซ่าทํางาน 5 ปีเพื่อ
                    ดึงดูดนักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกการให้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 17% ต่ําสุด
                    ในอาเซียน สําหรับผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัย ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนด

                    ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสําหรับ
                    อุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาค
                    ตะวันออก,2564 )
                              จากสิทธิประโยชน์ของการลงทุนดังกล่าวจึงทําให้มีการเปิดโอกาสที่ดีที่จะดึงดูดนักลงทุนจาก
                    ต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น อีกทั้งการเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนใน EEC นั้นมีการลงทุน
                    ที่หลากหลายด้าน ในกลุ่มอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต อาทิ เช่น อุตสาหกรรม
                    ดิจิทัล อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมการพัฒนาบุคลากรและ
                    การศึกษา ดังนั้นโครงการEEC จึงเป็นเป็นตัวเชื่อมโยงการนักลงทุนจากชาวต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะในแถบ
                    ประเทศทางเอเชีย เช่น ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น

                                           นโยบาย และ ลักษณะสําคัญของโครงการ EEC
                              โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เป็นโครงการแห่งชาติที่จุดประกายความหวัง
                    ความเปลี่ยนแปลง ที่นํามาซึ่งโอกาสมากมาย ที่จะนําผลประโยชน์มาให้คนไทย และประเทศไทยเป็นจุดหมาย
                    ปลายทางที่คนไทยทุกคนมีร่วมกัน เพื่อให้พ้นกับดักรายได้ปานกลาง นําประเทศชาติไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ที่
                    ยั่งยืนแนวคิดของการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรได้รับแรงบันดาลใจจากการมองเห็นโอกาสของการสร้างเขต
                    เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่เป็นระเบียงของกรุงเทพฯ นับเป็นยุทธศาสตร์ที่ลงตัวในการเชื่อมต่อทั้ง
                    ทางด้านภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ และสังคม จากประเทศไทยสู่ภูมิภาค และสู่โลกโดยสะท้อนความลงตัวนี้ใน

                    สัดส่วนของสามเหลี่ยมสมมาตร (Golden Ratio)ในรูปแบบสัญลักษณ์ของใบเรือสําเภาทองล้อกับ แสงสีส้ม
                    ทองของตะวันยามเช้าสื่อถึงความรุ่งโรจน์แห่งการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศ โดยตั้งเด่น ตระหง่านบนสีน้ํา
                    เงินน้ําทะเลบอกเล่าเรื่องราวของการเดินทางไปสู่แสงตะวันแห่งโอกาสครั้งใหม่ไม่มีที่สิ้นสุดพ้องกับแนวคิดที่
                    เชื่อกันว่า ตราบใดที่ดวงตะวันยังขึ้นทางด้านทิศตะวันออกตราบนั้นยังมีโอกาสให้คนไทยเสมอ เป็นที่มาของ
                    โครงการ EEC คือเชื่อมโลกให้ไทยแล่น เป้าหมายสําคัญของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ ที่เรียกว่า
                    ‘ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก’ (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC คือ การเป็นจุดศูนย์กลางใน
                    ระดับโลก โดยเฉพาะด้านการลงทุน เป็นฐานอุตสาหกรรมด้านพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย
                    โรงกลั่นน้ํามันขนาดใหญ่ 5 โรง อุตสาหกรรมกลุ่มปิโตรเคมี 3 แห่ง โรงผลิตไฟฟ้า 20 โรง และนิคม

                    อุตสาหกรรม 29 แห่ง ทั้งยังเชื่อมโยงด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่มีความสะดวก สบาย ห่างจาก
                    กรุงเทพฯ เพียง 200 กม. ซึ่งเชื่อมผ่านเส้นทางสายหลัก ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง สนามบินอู่ตะเภา และ
                    ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก,2564 )
                                  งบประมาณการลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC1.5 ล้านล้านบาท
                    (43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในระยะเวลา 5 ปีแรก (พ.ศ. 2560-2564) และในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565-
                    2570) ประเมินวงเงินลงทุนไว้อยู่ที่ 386,565 ล้านบาท ในปัจจุบัน โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC นั้นยังอยู่

                                                        54                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66