Page 62 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 62
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
ในระยะดําเนินการที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งได้ตั้งงบประมาณไว้อยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท (43,000 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ) และกําลังอยู่ในช่วงเสนอพิจารณาอนุมัติวงเงินสําหรับระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570) โดย
ประเมินวงเงินลงทุนไว้อยู่ที่ 386,565 ล้านบาท สําหรับการลงทุนจํานวน 131 โครงการ 131 โครงการพัฒนา
เขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ระยะที่ 2 ด้วยงบประมาณ 3 แสนล้านบาทเนื่องจากพื้นที่เป้าหมายของ EEC คือ
พื้นที่เดียวกับโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด และเพื่อดึงดูดให้นักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกสนใจมาลงทุนตั้งฐานการ
ผลิตที่ไทย ‘EEC’ จึงต้องมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับอย่างดี ขณะที่การขนส่งก็ออกแบบไว้ครอบคลุมทั้งทาง
ถนน ทางราง ทางอากาศ และทางน้ํา ด้วยงบฯ การลงทุนกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งในระยะที่ 1 นั้นได้มีความ
คืบหน้าของโครงการหลักของ EEC คือ
1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่
ตะเภา ซึ่งได้รับการอนุมัติโครงการไปตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561 ปัจจุบันกําลังอยู่ในขั้นตอนของการส่ง
มอบพื้นที่ให้กับทางเอกชนดําเนินการต่อ โดยช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ประมาณเดือน
มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ส่วนช่วงดอนเมือง-พญาไท คาดว่าจะส่งมอบได้ประมาณต้นปีพ.ศ. 2565
2. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้ดําเนินการถึงขั้นตอน
การส่งแผนแม่บทฉบับเบื้องต้นโครงการและรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มาตรการ
ป้องกันและแก้ไข ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) ให้แก่ทางคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจ
พิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พิจารณาแล้ว คาดว่าจะดําเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในปีพ.ศ. 2567 ตาม
เป้าหมาย
3. โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค
และการจ้างที่ปรึกษาเพื่อบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง เพื่อเสนออนุมัติกับทาง สกพอ. ต่อไป (สํานักงาน
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก,2560)
พื้นที่ในเขตเศรษฐกิจ EEC จะกลายเป็นประตูตะวันออกสู่เอเชีย โดยทั้ง 3 ท่าเรือ ทั้งท่าเรือ
แหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จะเป็นส่วนหนึ่งของ Eastern Sea
Gateway ซึ่งได้มีการประมูล PPP ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 Gateway to Asia และ PPP ท่าเรือมาบตาพุด
ตลอดจนการก่อสร้าง Ferry และ Cruise ที่ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบปัจจุบัน การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC
ยังคงดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในระยะที่ 2 ที่กําลังจะมาถึงนี้ จะ
เป็นการลงทุนต่อเนื่องจากการลงทุนในระยะที่ 1 มีโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ PPP ซึ่ง ณ
ขณะนี้ได้ผู้ร่วมทุนแล้วทั้งสิ้น 3 โครงการ และยังมีการออกบัตรส่งเสริมการลงทุน โดยคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน (BOI) ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีการลงทุนกับอุตสาหกรรมภายในพื้นที่ซึ่งได้ดําเนินการไปตั้งแต่ปีพ.ศ.
2560-2563นอกจากนี้แล้ว ทาง สกพอ. ยังได้สร้างความร่วมมือกับเอกอัครราชทูตจากประเทศต่างๆ กว่า 50
ท่าน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างการลงทุนระหว่างนานาประเทศกับเขตเศรษฐกิจ EEC อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อน
เศรษฐกิจกับ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ กลุ่มดิจิทัลและเทคโนโลยี 5 G และกลุ่มสมาร์ต
โลจิสติกส์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง ตะวันออก เป็นเมืองแห่งอนาคต โครงการพัฒนาเขต
เศรษฐกิจพิเศษที่กําลังเร่งดําเนินการอยู่นั้นจะมุ่งยกระดับเมือง ชุมชน คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม สู่ระดับ
มาตรฐานสากล และการพัฒนาเมืองแห่งการศึกษานานาชาติ โดยมีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนนานาชาติชั้นนํา
เป็นผู้นําในด้านสาธารณสุข โดยเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และโรงพยาบาล อีกทั้งยังมุ่งพัฒนาเมืองใหม่
สําหรับการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ พร้อมทั้งขับเคลื่อนศูนย์กลางธุรกิจพาณิชย์ที่ทันสมัยในภูมิภาค และจัดตั้ง
กองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ทั้งในด้านสุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม และ
การศึกษา วันนี้แนวโน้มอุตสาหกรรมทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนทิศทางอีกครั้ง จึงเป็นปัจจัยสําคัญที่ผลักดันให้ประเทศ
55 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย