Page 60 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 60

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                                 3.   โครงการท่าเรือมาบตาพุด

                                 4.   โครงการท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ
                                 5.   โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อเชื่อมต่อ 3 สนามบิน
                                 6.   โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เชื่อมโยงแหล่งอุตสาหกรรม
                    และท่าเรือ
                                 7.   โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางพัทยา-มาบตาพุด, เส้นทาง
                    แหลมฉบัง-นครราชสีมา และเส้นทางชลบุรี-ตราด
                                 นอกจากนี้ ยังมีแผนดําเนินการเพื่อดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชน ประกอบด้วย การให้สิทธิ

                    ประโยชน์แก่นักลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม (โดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี สิทธิการเช่าที่ดิน และการ
                    จัดหาแรงงาน)  การจัดตั้งกองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ การจัดตั้งศูนย์บริการ
                    เบ็ดเสร็จการลงทุน  (One Stop Service) เพื่ออํานวยความสะดวกแก่นักลงทุนในการขออนุมัติอนุญาตการ
                    ประกอบกิจการและให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ  การประกาศเป็นเขตปลอดภาษี การจัดหาที่ดินและระยะเวลาเช่า
                    ที่ดิน ระยะเวลาพํานักและทํางานของนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ สิทธิในการทําธุรกรรมทางการเงิน
                    การใช้เงินตราต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์ธุรกรรมการเงิน และการจัดตั้งกองทุนในพื้นที่ร่วมกับชุมชนใน
                    ท้องถิ่น เป็นต้น (ชัยณรงค์ เครือนวน และคณะ,2559)
                                 หากพิจารณาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานใน ระเบียงเศรษฐกิจ
                    พิเศษภาคตะวันออก พบว่า กลไกรัฐกําหนดแนวทางดําเนินงานไว้ 5 ขั้นตอน คือ (1) พัฒนาอุตสาหกรรม

                    เป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ (2) พัฒนา
                    โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจที่มีศักยภาพรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ
                    เชื่อมโยงสู่ตลาดโลก (3) พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน บริการสังคม และ
                    สิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน (4) พัฒนาสภาพ แวดล้อมในเมืองสําคัญของจังหวัด (5) ให้สิทธิประโยชน์และ
                    อํานวยความสะดวกเพื่อ ดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
                    สังคมแห่งชาติ,2559)
                                 ดังนั้นบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีต่อโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาค

                    ตะวันออก (EEC)  ในลักษณะด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM) จึงเป็นส่วนสําคัญที่ทําให้นโยบาย
                    ของรัฐนี้สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้นตามโมเดลที่จะเสนอต่อไปนี้

                    รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาค
                    ตะวันออก (EEC) ทั้งผลดีและผลเสียการศึกษาบทบาทและผลกระทบที่เกิดขึ้นไว้ถือเป็นกลไกและแนวทาง

                    สําคัญในการขับเคลื่อนให้โครงการพัฒนาไปสู่การเปิดประตูประเทศไทยเชื่อมโยงเอเชียได้อย่างดีในอนาคต
                           สิทธิประโยชน์จากโครงการ EEC เพื่อเป็นการสร้างการเชื่อมโยงเอเชียด้วยโครงการพัฒนาระเบียง
                                                    เศรษฐกิจภาคตะวันออก


                              1.   ด้านการค้า การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับบางกิจกรรม
                    ได้นานสูงสุด 13 ปี (อาศัยอํานาจตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน) การยกเว้นอากรขาเข้า เครื่องจักร วัตถุดิบ
                    ยกเว้นอากรขาเข้าสําหรับ เครื่องจักร วัตถุดิบ ที่นํา เข้ามาผลิตเพื่อส่งออก และของที่นําเข้ามา เพื่อการวิจัยและ
                    พัฒนา




                                                        53                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65