Page 63 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 63
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
ไทยต้องลุกขึ้นมายกระดับประเทศใหม่เพื่อความอยู่รอด และเพื่อเป็นการสร้างฐานความเจริญครั้งใหม่ของ
ประเทศ ไปถึงจุดมุ่งหมายนั้น จึงต้องมีการกําหนดพื้นที่เป้าหมายนําร่องใน 3 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ
ระยอง อีกทั้งยังได้กําหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม
โดยมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มศักยภาพรองรับการลงทุนและการพัฒนา
กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการอํานวยความสะดวกต่างๆ ในพื้นที่รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการ
จัดระบบการสะสมเทคโนโลยี เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทยนอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการ
พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ยังมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560
เรื่องการจัดทําแผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกทั้งหมด 8 แผนซึ่งแต่ละแผนจะ
เชื่อมโยงกัน นําไปสู่การพัฒนาพื้นที่ อีอีซีอย่างสมบูรณ์แบบเป็นรูปธรรมและยั่งยืนในทุกมิติ
(สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก,2560).
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีบทบาทในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก
สําหรับประเทศไทยซึ่งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับกลุ่มเศรษฐกิจในเอเชีย เนื่องจาก
ตั้งอยู่ระหว่างจีนไปสู่อินโดนีเซียและระหว่างเวียดนามไปสู่เมียนมาและอินเดีย อีกทั้งยังมีชัยภูมิที่เป็น
ศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในด้านการผลิต การค้า
การส่งออกและการขนส่งจากการตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม (CLMV)
ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศทีมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีของโลก รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจกลุ่มประเทศ
CLMV ส่งผลให้ไทยต้องปรับตัวแสวงหายุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจใหม่เพื่อให้ทันความเปลี่ยนแปลง โครงการ
พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) จึงถือเป็นความหวังหนึ่ง
ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และนําพาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปาน
กลาง โดยเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริม
การค้า การลงทุน และอํานวยความสะดวกในการประกอบกิจการภายใต้คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติในปี 2560 อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับประเทศไทยสู่
การพัฒนาเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โครงการ EEC มีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี
ระยอง
รัฐบาลไทยผลักดันโครงการ EEC เพื่อให้ไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าเพิ่ม และมีเศรษฐกิจที่ใช้
นวัตกรรม (Innovation-Driven Economy) ทั้งนี้ EEC เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ต่อยอดมาจาก
โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development Program: ESB) ที่
ดําเนินการมาแล้วกว่า 30 ปี และมีส่วนสําคัญในการจ้างงาน รวมถึงเป็นพื้นที่ที่สร้างรายได้และผลิตภัณฑ์มวล
รวมของประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) เป็นอย่างมาก กลไกในการบริหารจัดการพื้นที่ EEC
ดําเนินการผ่านการบริหารจัดการของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกโดยมี
นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติเขต
พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ระบุว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่เอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่ ขาด
การวางแผนการบริหารพื้นที่แบบองค์รวม การพัฒนาด้านต่าง ๆ จึงเป็นไปอย่างแยกส่วนและกระจัดกระจาย
ทําให้ไม่สามารถพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกได้อย่างเต็มศักยภาพจึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติเขตพัฒนา
พิเศษภาคตะวันออกเพื่อให้การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกดําเนินการไปได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อนุมัติโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่
สําคัญในพื้นที่แล้ว พร้อมเร่งพัฒนาระบบการจัดการขนส่งแบบบูรณาการทั้งรถไฟและท่าเรือแบบไร้รอยต่อ
56 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย