Page 85 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 85
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
วสันต์ เหลืองประภัสร์ และคณะ (2557). ได้เสนอ Collaborative governance model ไว้
อย่างน่าสนใจ โดยใช้ในภาษาไทยว่า “ตัวแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน” โดยเขาได้เสนอ
ไว้ว่า เงื่อนไขพื้นฐานที่สําคัญของการบริการกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน คือ
1) การริเริ่มความร่วมมือ กล่าวคือ เป็นการเปิดพื้นที่การทํางานร่วมกันที่ริเริ่มโดย
หน่วยงาน หรือองค์กรภาครัฐ โดยวัตถุประสงค์ของการที่หน่วยงานภาครัฐริเริ่มการร่วมมือกันทํางานกับภาค
ส่วนอื่นๆ ก็เป็นไปเพื่อขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน หรือเป็นการแสดงบทบาทร่วมกันกับ
ตัวแสดงอื่นๆ ตามที่กฎหมายหรือระเบียบกําหนดบทบาทและอํานาจหน้าที่ไว้
2) ตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ตัวแสดงที่เข้ามาร่วมในกระบวนการต้องประกอบด้วย
ตัวแสดงภาครัฐและตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งมีฐานะเป็นภาคีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารภารกิจ หรือนโยบาย
สาธารณะ ฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการจึงครอบคลุมทั้งภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชน
ซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารจัดการงานของภาครัฐ ในฐานะพลเมือง หรือกลุ่มทางสังคม หรือ
องค์กร
3) การแสดงบทบาท กล่าวคือ ภาคีที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ต้องสามารถแสดง
บทบาทร่วมตัดสินใจกับตัวแสดงภาครัฐได้โดยตรง มิใช่มีบทบาทเพียงให้ข้อคิดเห็น หรือให้คําปรึกษาแก่
หน่วยงานภาครัฐ โดยทุกฝ่ายต้องมีการพบปะเจรจาหารือกันอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยน รับฟัง โต้แย้ง
เสนอแนะและตัดสินใจร่วมกัน ตัวแสดงที่มิใช่ภาครัฐต้องมีส่วนในการตัดสินใจในกิจการของภาครัฐ หรือ
นโยบายสาธารณะของภาครัฐได้ในทุกขั้นตอนของการตัดสินใจ แม้อํานาจตัดสินใจสุดท้ายจะอยู่ที่หน่วยงาน
ภาครัฐก็ตาม
4) การจัดโครงสร้างการทํางาน กล่าวคือ ต้องมีการจัดโครงสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็น
ทางการ ที่ทําให้ทุกฝ่ายเข้ามาแสดงบทบาทร่วมกัน กลไกการทํางานร่วมกันภายใต้โครงสร้างความสัมพันธ์ที่
เป็นทางการ ควรเกิดจากการตกลงวางกรอบกําหนดรูปแบบความสัมพันธ์ร่วมกันของทุกฝ่าย เป็นการทํางาน
ร่วมกันโดยมีกระบวนการบริหารจัดการรูปแบบเฉพาะที่ทุกฝ่ายร่วมกันกําหนดขึ้น โดยผ่านการวางกฎเกณฑ์
และระเบียบปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นทางการ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนการจัดบริการสาธารณะที่อยู่ในอํานาจหน้าที่
รับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐ
5) การตัดสินใจ กล่าวคือ การทํางานร่วมกันต้องมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามา
ตัดสินใจร่วมกันบนฐานของการแสวงหาทางออกที่สะท้อนฉันทานุมัติของทุกฝ่าย ซึ่งเป็นทางเลือกที่เอื้อให้ทุก
ฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน กระบวนการตัดสินใจในการทํางานร่วมกันต้องไม่ใช่การต่อรอง ประนีประนอม
หรือแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ แม้หน่วยงานภาครัฐจะถือครองอํานาจหน้าที่การตัดสินใจในการดําเนินภารกิจ
แต่เป้าหมายในการดําเนินภารกิจนั้นต้องตั้งอยู่บนฐานของฉันทานุมัติที่ทุกฝ่ายร่วมกันกําหนดขึ้น การตัดสินใจ
ในบางกรณีอาจจะไม่สามารถสร้างความเห็นพ้องตรงกันได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ต้องเป็นการตัดสินใจที่มี
ข้อตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันได้
6) เป้าหมายของการทํางานร่วมกัน กล่าวคือ ต้องเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็น
หรือนโยบายสาธารณะเท่านั้น ต้องเป็นการร่วมมือกันทํางานที่มุ่งขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ หรือภารกิจของ
ภาครัฐเป็นสําคัญ มิใช่การอาศัยกลไกการบริหารของภาครัฐ เพื่อสร้างพื้นที่เจรจาต่อรองผลประโยชน์ของกลุ่ม
ผลประโยชน์ ภาคธุรกิจเอกชนเฉพาะกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการตัดสินใจของภาครัฐ และวสันต์
เหลืองประภัสร์ และคณะ ยังได้เสนอไว้อีกว่า ปัจจัยที่นําไปสู่ความสําเร็จของการบริหารกิจการบ้านเมือง
แบบร่วมมือกัน คือ
78 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย