Page 84 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 84

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    บทความเรื่อง “Collaborative Governance in Theory and Practice” by Chris Ansell & Alison

                    Gash, University of California, Berkeley เพื่อให้เกิดการสร้างความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาของ
                    กระจายอํานาจให้กับท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมในทุกๆ มิติที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดที่
                    น่าศึกษา ตามภาพที่ 1 ดังนี้























                              จากภาพที่ 1 ตัวแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (A model of Collaborative
                    Governance) ประกอบด้วย 4 ตัวแปร คือ ตัวแปรที่ 1 การกําหนดเงื่อนไข (Starting Conditions) ตัวแปรที่
                    2 การออกแบบสถาบัน (Institutional Design) ตัวแปรที่ 3 ผู้นําที่เอื้ออํานวย (Facilitative Leadership)
                    และตัวแปรที่ 4 กระบวนการการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Process)  โดยจะ
                    เริ่มจากการกําหนดเงื่อนไข เช่น ความไม่สมมาตรของความรู้และอํานาจของการมีทรัพยากร และความร่วมมือ
                    ที่ผ่านมา หรือความขัดแย้งในเรื่องของระดับความไว้วางใจ ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจและข้อจํากัดของการมีส่วนร่วม
                    ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการออกแบบสถาบัน (Institutional Design) ซึ่งครอบคลุมถึงการมีส่วนร่วม, ประชุม

                    ผู้บริหาร, มีกฎร่วมกันที่ชัดเจน กระบวนการของความโปร่งใส ส่งผลต่อกระบวนการแบบร่วมมือกัน
                    (Collaborative Process) ที่ต้องสร้างความไว้วางใจ ที่ได้จากการสนทนาระหว่างกัน การเจรจาต่อรองที่
                    ยุติธรรม และผลลัพธ์ระดับกลาง (Intermediate Outcomes) ที่ได้จากชัยชนะจุดเล็กๆ , การวางแผนกลยุทธ์
                    และการร่วมกันค้นหาความจริง ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการของความมุ่งมั่น (Commitment to Process) ได้แก่
                    การยอมรับความเป็นอิสระร่วมกัน, กระบวนการแลกเปลี่ยนความเป็นเจ้าของ และการสํารวจอย่างเปิดเผยซึ่ง
                    กันและกัน ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนความเข้าใจซึ่งกันและกัน (Shared Understanding) ได้แก่ ภารกิจที่
                    ชัดเจน, การนิยามปัญหาทั่วไป, การระบุคุณค่าของส่วนกลาง ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์ที่จะ
                    เกิดขึ้น (Outcomes) โดยทั้งหมดนี้จะต้องมีภาวะผู้นําที่เอื้ออํานวยความสะดวก (Facilitative Leadership)
                    รวมถึงการเสริมพลังในมิติต่างๆ

                              โดยมีนักวิชาการไทยที่ได้ศึกษาจาก “ตัวแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน”
                    (Collaborative Governance) และได้พัฒนาตัวแบบดังกล่าวเพิ่มเติม เพื่อให้มีความน่าสนใจในการนํามา
                    ประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการปกครองท้องถิ่นของไทย มีรายละเอียด ดังนี้

                    แนวคิดการบริหารจัดการปกครองท้องถิ่นบนฐานเครือข่ายความร่วมมือ (On the Concepts of
                    Collaborative Local Governance)




                                                        77                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89