Page 86 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 86

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                                         6.1) ความสามารถในการประสานความร่วมมือระดับบุคคล ซึ่งมี 2 ลักษณะควบคู่

                    กัน คือ ความสามารถในการเป็นผู้ประสานเชื่อมโยงภาคีและความสามารถในการเป็นผู้สร้างเครือข่าย ทั้งนี้ ผู้
                    ประสานเชื่อมโยงภาคีและผู้สร้างเครือข่ายต้องมีความสามารถในการรับรู้และเล็งเห็นถึงความต้องการจาก
                    จุดยืนที่แตกต่างกันของแต่ละฝ่าย ในขณะเดียวกัน ก็สามารถมองเห็นผลลัพธ์ในภาพกว้างของการประสาน
                    ความร่วมมือ สามารถเข้าใจถึงการเชื่อมโยงบทบาทที่แตกต่างกันของภาคีแต่ละฝ่ายในกระบวนการขับเคลื่อน
                    เป้าหมายร่วมให้บรรลุผล เข้าใจถึงสภาพข้อจํากัดและโอกาสขององค์กรภาคี ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรม
                    การทํางานของบุคลากรในแต่ละองค์กร เป็นผู้มีใจเปิดกว้าง พร้อมที่จะยอมรับและเข้าใจผู้อื่น มีมุมมอง
                    สร้างสรรค์ในการดึงศักยภาพที่มีอยู่ของแต่ละฝ่าย เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและแบ่งปันความเสี่ยงต่างๆ ในการ

                    ขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย มีภาวะผู้นํา มีบทบาทริเริ่มก่อตั้งความร่วมมือ เอื้ออํานวยให้กระบวนการ
                    สร้างความร่วมมือดําเนินไปอย่างราบรื่น เป็นตัวเชื่อมระหว่างองค์กรภาคีฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัย
                    ทักษะในการเจรจาสื่อสาร ทักษะในการประสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภาคี ทักษะการบริหาร
                    จัดการองค์กร ทักษะการเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยหาทางออกที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน ทักษะการจัดการปัญหา
                    ทักษะการจัดการความเสี่ยง มีวิสัยทัศน์เล็งเห็นโอกาสของการพัฒนาความร่วมมือ สําหรับการแสดงบทบาท
                    ของประสานเชื่อมโยงภาคีและผู้สร้างเครือข่ายจะสําเร็จได้นั้น มักขึ้นอยู่กับการได้รับความไว้วางใจและการ
                    ได้รับการยอมรับ
                                         6.2) ความสามารถในการประสานความร่วมมือระดับองค์กร ได้แก่ การมี
                    วัฒนธรรมการทํางานร่วมกับผู้อื่น การมีกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาแนวทางการทํางานร่วมกับองค์กรอื่นๆ

                    การมีผู้นําองค์กรที่พร้อมสนับสนุนการทํางานร่วมกับองค์กรอื่นและการได้รับความไว้วางใจจากองค์กรอื่นและ
                    ยึดมั่นในหลักเกณฑ์การทํางานร่วมกัน
                              ดังนั้น ในบริบทของการพัฒนาท้องถิ่น จากกรอบคิดแบบ Collaborative governance สู่กรอบ
                    คิดแบบ Collaborative local governance ซึ่งวสันต์ เหลืองประภัสร์ และคณะ ได้ใช้ในภาษาไทยว่า “การ
                    บริหารจัดการปกครองท้องถิ่นบนฐานเครือข่ายความร่วมมือ” ควรจะเป็นทางเลือกใหม่ที่สําคัญในการพัฒนา
                    ท้องถิ่น
                              กล่าวโดยสรุป การบริหารจัดการปกครองท้องถิ่นบนฐานเครือข่ายความร่วมมือ (Collaborative

                    local governance) คือ การวางแนวทางและจัดความสัมพันธ์ในการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้ระบบการเมือง
                    เปิดกว้ าง แ ล ะ กร ะ จายอํานาจให้แก่ตั วแ ส ดง ภ าคธุรกิจเอกชน   ภาคประชาสั งคม
                    และชุมชนมากขึ้น ส่งเสริมให้ตัวแสดงที่มิใช่รัฐสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการริเริ่มความร่วมมือ ตัดสินใจและ
                    ร่วมทํางานเพื่อท้องถิ่นบนฐานความสัมพันธ์แบบร่วมมือกัน ด้วยการแบ่งงานกันทําตามความถนัด แลกเปลี่ยน
                    ทรัพยากร เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารและการกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวแสดงต่างๆ ภายในเครือข่าย
                    อย่างชัดเจน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการร่วมกัน ทั้งนี้ รูปแบบเครือข่ายสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามแต่
                    ลักษณะของปัญหาและบริบทแวดล้อม
                              ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์ (2560) ได้เสนอเป้าหมายของการประสานความร่วมมือ เป็นอีกประเด็น

                    หนึ่งที่นักวิชาการให้ความสนใจถกเถียงกัน โดย Vangen and Huxham (2010) เสนอว่า เป้าหมายของการ
                    ประสานความร่วมมือสามารถจําแนกประเภทได้ อย่างน้อย 6 วิธีด้วยกัน (ดูตารางที่ 2) ได้แก่ การจําแนกตาม
                    ระดับของเป้าหมายการจําแนกตามที่มา การจําแนกตามความจริงแท้ การจําแนกตามความเกี่ยวข้อง การ
                    จําแนกตามเนื้อหาและการจําแนกตามความเปิดเผย ซึ่งแต่ละวิธีจะช่วยให้การทําความเข้าใจการประสาน
                    ความร่วมมือมีความชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้นและยังช่วยในการทําความเข้าใจผู้ทําหน้าที่จัดการการ
                    ประสานความร่วมมือ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในการกําหนดเป้าหมายได้มากขึ้นด้วย

                                                        79                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91