Page 71 - thaipaat_Stou_2563
P. 71
งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
เจ้าของอานาจอธิปไตย มีส่วนร่วมในกระบวนการสาธารณะ และยังเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้
ทางการเมือง มีความรู้ ความรับผิดชอบและแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองในอนาคต ซึ่งมีแนวคิดที่ส าคัญดังนี้
3.1 ความเป็นพลเมืองโลก
ั
การส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก ได้ด าเนินการไปตามกรอบเป้าหมายการพฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development Goal : SDG) ซึ่งต้องมีลักษณะเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตเริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและ
ผ่านการศึกษาในทุกระดับ สู่วัยผู้ใหญ่อย่างต่อเนื่อง ทั้งแนวทางที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมี
องค์ประกอบส าคัญของความเป็นพลเมืองโลก (UNESCO, 2015) ดังนี้
1) ด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive) คือ เป้าหมายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับ
ประเด็นในระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น จากทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมี
วิจารณญาณ ที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันของประชากรและพื้นที่
ึ
2) ด้านสังคม – อารมณ์ (Socio-Emotional) คือ ความรู้สึกถงความเป็นมนุษยชาติที่แบ่งปัน
คุณค่าร่วมกัน จากการพัฒนาทัศนคติและทักษะทางสังคมเกี่ยวกับความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจ จิตสาธารณะ
และเคารพต่อความแตกต่างหลากหลาย บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน
3) ด้านพฤติกรรม (Behavioral) คือ แรงจูงใจและการแสดงออกอย่างเต็มศักยภาพในความ
รับผิดชอบที่สามารถด าเนินการได้ เพื่อสร้างความสงบสุขและยั่งยืนทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ ระดับ
ภูมิภาค และระดับท้องถิ่น
3.2 ความเป็นพลเมืองตื่นรู้
การเสริมสร้างบทบาทความเป็นพลเมืองตื่นรู้ เป็นสิ่งส าคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ
สมาชิกของสังคมที่ใช้สิทธิเสรีภาพโดยมีความรับผิดชอบ เคารพสิทธิความเสมอภาคเท่าเทียม เคารพความ
แตกต่าง มีส านึกการมีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งต้องเป็นการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization) โดยมี
องค์ประกอบส าคัญความเป็นพลเมืองตื่นรู้ (ศรัณยุ หมั้นทรัพย์, 2550: 105) ดังนี้
1) ด้านความรู้ คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญ โครงสร้างรัฐ อานาจรัฐ องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง สิทธิเสรีภาพ ช่องทางการใช้อานาจของตน
หน้าที่ของตน ท้องถิ่น ชุมชนและสังคมโลก
ึ
ี
2) ด้านการกระทา คือ การมีทักษะทางการเมืองที่ไม่ใช่เพยงแค่การเลือกตั้ง แต่รวมถงทักษะ
ในการรวมกลุ่มการแสดงความคิดเห็นและการอภิปรายอย่างเป็นเหตุเป็นผล การมีส่วนร่วม การคิดวิเคราะห์
ไตร่ตรองและการค้นหา ใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงและการเคลื่อนไหวทางการเมือง
3) ด้านความคิดและทศนคต คือ แนวโน้มทางความคดที่ถูกต้องตามวิถีประชาธิปไตยเกี่ยวกับ
ั
ิ
ิ
การเคารพความแตกต่างและการยอมรับความเห็นต่าง การเคารพสิทธิของผู้อน ซึ่งน าไปสู่การแสดงออกทาง
ื่
พฤติกรรมที่เป็นตามวิถีประชาธิปไตย
3.3 ความเป็นพลเมืองดิจิทัล
ื่
พลเมืองดิจิทัลถือเป็นแนวปฏิบัติที่ส าคัญ เพอให้พลเมืองเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
ี
ดิจิทัลและปกป้องตนเองจากความเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งรู้จักเคารพสิทธิของตนเองและมความรับผิดชอบต่อสังคม
ในโลกสมัยใหม่ และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อสังคม และใช้สร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมในเชิง
บวก โดยมีองค์ประกอบส าคัญของความเป็นพลเมืองดิจิทัล (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, 2561: 13 - 15) ดังนี้
1) ด้านความรู้เกี่ยวกับสื่อและสารสนเทศ คือ พลเมืองดิจิทัลต้องมีความรู้ความสามารถใน
การเข้าถึง ใช้ประโยชน์ สร้างสรรค์ ประเมิน สังเคราะห์ และสื่อสารข้อมูลข่าวสารผ่านเครื่องมือดิจิทัล ดังนั้น
พลเมืองยุคใหม่จึงต้องมีความรู้ด้านเทคนิคในการเข้าถึงและใช้เครื่องมือดิจิทัล
69