Page 39 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 39
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
คุณภาพการให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่สถานการณ์
ความไม่สงบ : กรณีศึกษาประชาชนในพื้นที่ตําบลโคกโพธิ์ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
(Service Quality of Village Health Volunteers in Unrest Areas : A Case Study of
KhokPho Subdistrict, KhokPho District, Pattani Province)
อารุจี ศักดิ์สวัสดิ์
1
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจํา
หมู่บ้าน (อสม.) และความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันต่อคุณภาพการ
ให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่สถานการณ์ความไม่สงบ : กรณีศึกษา
ประชาชนในพื้นที่ตําบลโคกโพธิ์ อําเภอ โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้
แบบสอบถาม ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ ประชาชนผู้ที่รับบริการจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจํา
หมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ตําบลโคกโพธิ์ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 342 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน
ประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียว (Independent Samples t-test) การวิเคราะห์ความ
แปรปรวนทางเดียว (One-Way Anova) ทําการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้ Lest Significant
Difference (LSD) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการให้บริการของอาสาสมัคร
สาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ทั้ง 5 ด้าน ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือและ
ไว้วางใจ ด้านการตอบสนอง ด้านการสร้างความมั่นใจและด้านการดูแลเอาใจใส่อยู่ในระดับสูงทุกด้าน ปัจจัย
ส่วนบุคคล ประกอบด้วย ระดับการศึกษา ระดับรายได้ ความรอบรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐานมีผลต่อคุณภาพ
การให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาในรายละเอียด
พบว่า ระดับการศึกษามีผลต่อด้านการตอบสนองแตกต่างกัน ระดับรายได้มีผลต่อด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่
สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการสร้างความมั่นใจแตกต่างกัน ความรอบรู้เกี่ยวกับ
สาธารณสุขพื้นฐานมีผลต่อด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัสได้ ด้านความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ ด้านการ
ตอบสนอง ด้านการสร้างความมั่นใจ ด้านการดูแลเอาใจใส่แตกต่างกัน สําหรับข้อเสนอแนะคือให้หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยให้เพียงพอต่อการให้บริการประชาชน และมี
การประชาสัมพันธ์เปิดพื้นที่ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทํา
แผนพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ไปพร้อมกับการจัดทําแผนการฝึกอบรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับงานสาธารณสุขพื้นฐานให้กับประชาชนเพื่อให้แผนการพัฒนาสอดคล้องและต่อเนื่องเป็นไป
1 นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
E-mail: augee.s@gmail.com
30 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย