Page 42 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 42
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
จากแนวทางการพัฒนาในแต่ละยุคของกระทรวงสาธารณสุข มุ่งพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติ
ของ อสม. เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณสุขรวมสู่สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น
อย่างต่อเนื่องให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพเป็นเลิศภายในปี 2579
ในพื้นที่ตําบลโคกโพธิ์ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ที่ดําเนินการสาธารณสุขมูล
ฐานมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีจํานวน อสม. ที่ให้บริการอยู่จํานวน 143 คน (ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาค
ประชาชน กระทรวงสาธารณสุข, 2563) ดําเนินการตามกิจกรรมหลักของสาธารณสุขมูลฐาน ภายใต้
สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ จากข้อมูลศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจาก
เหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดน (ศวชต.) ในห้วงระยะเวลา 15 ปี (4 มกราคม 2547-31ธันวาคม 2562)
พื้นที่จังหวัดปัตตานี มีจํานวนความถี่ของเหตุการณ์ทั้งสิ้น จํานวน 6,103 ครั้ง มีจํานวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
จากเหตุการณ์ทั้งสิ้น 6,555 คน ผลกระทบที่เกิดกับหน่วยงานสาธารณสุข พบเหตุลอบวางระเบิด 3 แห่ง ที่
สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลและสถานีอนามัย เหตุลอบวางเพลิงสถานีอนามัย 4 แห่ง เจ้าหน้าที่
สาธารณสุข เสียชีวิต 2 ราย และเมื่อพิจารณาที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเฉพาะในพื้นที่อําเภอโคกโพธิ์
จังหวัดปัตตานี ในห้วง 15 ปี มีจํานวนทั้งสิ้น 663 ครั้ง ผลกระทบที่เกิดกับหน่วยงานสาธารณสุขคือ เหตุลอบ
วางระเบิดบริเวณลานจอดรถหน้าโรงพยาบาลโคกโพธิ์ ตําบลมะกรูด อําเภอโคกโพธิ์
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้บุคลากรสาธารณสุขและ อสม. ในพื้นที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถี
ชีวิตและการจัดระบบบริการ รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังทั้งขณะปฏิบัติงานและขณะเดินทางด้วยความรุนแรง
ที่ไม่รู้ใครเป็นใครในพื้นที่การทํางานระหว่างภาคสาธารณสุขกับทาง อสม.นั้น มีปัญหาอุปสรรคจากสถานการณ์
เช่นกัน อสม. สามารถช่วยเจ้าหน้าที่ทํางานได้ลดลง เนื่องจากการขาดการมาประชุมของ อสม. โดยสม่ําเสมอ
เพราะไม่กล้าออกมาประชุม เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการทํางานให้ทางราชการ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภัยกับตัว
อสม. คนนั้น สําหรับความตั้งใจของ อสม.นั้นยังเต็มร้อย แต่ก็มีเหมือนกันที่กลุ่มแนวร่วมมาคุยห้ามปรามไม่ให้
อสม. ทํางาน ดังนั้นในบางพื้นที่การจัดการประชุมพูดคุยกับ อสม. จึงไม่สามารถจัดการตามรูปแบบทางการ
แบบเดิมได้ ต้องชวนมาเป็นกลุ่มเล็กซึ่งทาง อสม. จะออกมาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ในลักษณะที่เสมือนมารับ
บริการที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย หรือในบางพื้นที่เมื่อมีการเชิญประชุม อสม. จะไม่ขับขี่รถจักรยานยนต์
แบบต่างคนต่างมาเหมือนเช่นเดิม แต่จะนัดหมายมาพร้อมกันเป็นคันรถกระบะเพื่อความอุ่นใจ สําหรับการ
ทํางานในชุมชนที่ต้องมีการสอบถามชื่อหรือการจัดทําทะเบียนต่าง ๆ เช่น การจดชื่อ นามสกุลของประชาชนที่
มีรับบริการหรือจดหมายเลขบัตรประชาชน จะไม่ได้รับความร่วมมือ เนื่องจากประชาชนหวาดกลัวว่าจะมีการ
นําข้อมูลไปใช้ในเรื่องอื่น (สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ และคณะ, 2550)
ณ ปัจจุบันสถานการณ์ความไม่สงบยังคงดําเนินอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อความ
ปลอดภัย คุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน ในขณะเดียวกันผลกระทบดังกล่าวได้ส่งผลต่อ อสม.ด้วย
เช่นกัน ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่การให้บริการพร้อมกับการดํารงชีวิตประจําวันที่ต้องระมัดระวังความ
ปลอดภัยให้กับตนเอง ความระแวดระวังในขณะปฏิบัติหน้าที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการทํางาน ซึ่งมีผล
เชื่อมโยงไปถึงคุณภาพการให้บริการ การศึกษานี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการเข้าถึงสภาพจริงในการปฏิบัติหน้าที่
การให้บริการในพื้นที่เปราะบางที่อยู่ในสถานการณ์พิเศษ เพื่อนํามาสู่การค้นหาแนวทางแก้ไขที่สอดคล้องกับ
33 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย