Page 41 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 41

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    ระบบสุขภาพ โดยกําหนดแผนยุทธศาสตร์ เป็น 4 ระยะ ช่วงละ5 ปี ระยะที่ 1 การมุ่งปฏิรูประบบสุขภาพ

                    ระยะที่ 2 สร้างความเข้มแข็ง ระยะที่ 3 สู่ความยั่งยืน และระยะที่ 4 ประเทศไทยจะต้องเป็น 1 ใน 3 ของ
                    เอเชียใน 20 ปีข้างหน้า กระทรวงสาธารณสุขยังได้กําหนดยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาความเป็นเลิศ 4 ด้านคือ 1.

                    ส่งเสริมสุขภาพและความป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention & Promotion Excellence) 2.บริการเป็นเลิศ
                    (Service Excellence) 3.บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) และ4.บริหารจัดการเป็นเลิศ

                    (Governance Excellence) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบ
                    สุขภาพยั่งยืน ภายในปี พ.ศ.2579 (สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

                    พฤษภาคม, 2559)
                                      อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน หรือ อสม. ที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Village
                    Health Volunteer “VHV” เป็นตัวแทนของประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกจากในแต่ละหมู่บ้านแล้วเข้ารับการ

                    อบรมตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด อสม. ก่อเกิดจากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้
                    นําเอาการสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.) ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-

                    2524) โดยให้ อสม. มีบทบาทหน้าที่สําคัญในฐานะผู้นําการเปลี่ยนแปลงพฤฒิกรรมสุขอนามัย (Change
                    Agents) พัฒนางานด้านสาธารณสุขมูลฐานครอบคลุมทั่วประเทศมุ่งเน้นให้ชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหา

                    สาธารณสุขของชุมชนเอง บทบาทหน้าที่หลักของ อสม.ประกอบด้วยการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น ส่งเสริม
                    ให้ประชาชนดูแลสุขภาพรวมทั้งป้องกันโรค ลดการเจ็บป่วย ถ่ายทอดความรู้ด้านการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน

                    สํารวจและรวบรวมข้อมูลบริหารจัดการด้านสาธารณสุขของชุมชน
                                           ตลอดระยะเวลาการดําเนินงานของ อสม. มากว่า 40 ปี ทางกระทรวงสาธารณสุข ทําการ
                    ประเมินผลการทํางานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนําไปสู่การปรับยุทธศาสตร์การดําเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการ

                    บริการของ อสม. ให้ปฏิบัติงานสอดรับกับนโยบายและบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เส้นทางการพัฒนา
                    อสม. แบ่งออกเป็น 4 ยุค เริ่มจาก ยุค 1.0 (พ.ศ.2520-2529) ยุคสังคมเกษตรกรรม เริ่มวางรากฐาน งาน

                    สาธารณสุขมูลฐาน พัฒนาภาคประชาชนให้เป็นผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) และอาสาสมัครสาธารณสุข
                    (อสม.) เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขทั้งโรคติดต่อและปัญหาสุขภาพ ยุค 2.0 (พ.ศ.2530-2549) ยุคอุตสาหกรรม

                    ในครัวเรือน มีการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการปัญหาสาธารณสุข เน้นการป้องกันและรักษาโรค มี
                    เจ้าหน้าที่เป็นผู้ให้บริการหลัก ยุค 3.0 (พ.ศ.2520-2560) ยุคสังคมอุตสาหกรรมหนัก ระบบสาธารณสุขมุ่งเน้น

                    ไปที่ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคมากขึ้น การดําเนินงานสุขภาพในชุมชนเน้นการสร้างเครือข่ายและ
                    ใช้แผนที่ยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านสุขภาพ มีโครงการ อสม. เชิงรุก มีหมู่บ้านจัดการสุขภาพ
                    และพัฒนาตําบลจัดการสุขภาพ มีการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น นําไปสู่การปรับพฤฒิกรรม

                    สุขภาพของประชาชนตามกลุ่มวัย ยุค 4.0 พ.ศ.2561 ยุคสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เน้นนวัตกรรมเพื่อเพิ่ม
                    ผลผลิต ลดต้นทุน โดยเน้นระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นยุคแห่งข้อมูล

                    ข่าวสารไร้พรมแดน และการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อนําคนไทยสู่สุขภาพดี (กรมสนับสนุนบริการ
                    สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2561)



                                                        32                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46