Page 45 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 45

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    ของผู้รับบริการ


                                                       วิธีดําเนินการวิจัย

                           ดําเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชน
                    ผู้ใช้บริการในพื้นที่ตําบลโคกโพธิ์  อําเภอโคกโพธิ์  จังหวัดปัตตานี  จํานวน 342  คน  โดยใช้แบบสอบถามเป็น

                    เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
                                           ตอนที่ 1  ถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจํานวน 10  ข้อ

                    ประกอบด้วย หมู่บ้านที่พักอาศัย เพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ศาสนา อาชีพ ภูมิลําเนา
                    เดิม   และความรอบรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐาน   ซึ่งลักษณะของคําถามเป็นแบบคําตอบหลายตัวเลือก
                    (Multiple Choice Question)

                                          ตอนที่ 2 ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นคุณภาพการให้บริการของ อสม. มีทั้งหมด 5 ด้าน คือ 1.
                    ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัสได้ (Tangibility) 2. ด้านความเชื่อถือและไว้วางใจได้ (Reliability) 3. ด้าน

                    การตอบสนองผู้รับบริการ (Responsiveness) 4. ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ (Assurance) 5. ด้าน
                    การรู้จักและเอาใจใส่ผู้รับบริการ (Empathy) โดยคําถามตอนที่ 2 ใช้ระดับการวัดข้อมูลแบบมาตรประมาณค่า

                    (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดแบบ Likert  โดยมีจํานวนคําถาม 19 ข้อ


                                                       การวิเคราะห์ข้อมูล
                                    วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ ดังนี้  1. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบ
                    แบบสอบถาม ได้แก่ หมู่บ้านที่พักอาศัย เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ศาสนา

                    อาชีพ ภูมิลําเนาเดิม ความรอบรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา
                    (Descriptive Statistics) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage)  2. ข้อมูล

                    ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ได้แก่ ด้าน
                    รูปลักษณ์ทางกายภาพที่สัมผัสได้ (Tangibility) ด้านความเชื่อถือและไว้วางใจ (Reliability) ด้านการ

                    ตอบสนองผู้รับบริการ (Responsiveness) ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ (Assurance) ด้านการรู้จัก
                    และเอาใจใส่ผู้รับบริการ (Empathy) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่

                    การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                    (Standard Deviation) 3. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ใช้วิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานดังนี้
                    3.1 ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของ อสม. ที่แตกต่างกัน ทดสอบ

                    โดยใช้สถิติ Independent Samples t-test กับกลุ่มตัวแปรที่มี 2 กลุ่มและ One-Way Anova กับกลุ่มตัว
                    แปรที่มีมากกว่า 2 กลุ่มตัวแปรขึ้นไป กรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

                    ทําการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี Lest Significant Difference (LSD)  มีผล
                    วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้



                                                        36                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50