Page 76 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 76

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    ต้องสอนความรู้เรื่องตลาดให้ หรือถ้ายังไม่มีองค์กรก็ไปช่วยตั้งองค์กรขึ้น ต้องทําเป็นระบบในโครงการเดียวกัน

                    แต่ปัจจุบันเป็นภารกิจของหน่วยงานไหนก็ทําไป
                                บรรทัดฐานเงินทอน เกิดจากวิธีคิดของข้าราชการ ซึ่งเป็นคนเขียนโครงการฯ เกิดจากวิธีคิด

                    ว่าเมื่อฉันเขียนโครงการ ฉันต้องได้รับค่าตอบแทนขึ้นมา ฉะนั้นเวลาเขียนโครงการ ใครไปทําก็ต้องมีเงินทอน
                    ตัวอย่างเช่น โครงการฯ ต่างๆ ผู้รับเหมาต้องมีเงินทอน แม้กระทั่งโครงการวิจัยก็ต้องมีเงินทอน บางทีพวก
                    อาจารย์ฯ ไปทําวิจัยในหน่วยงานของรัฐ อาจารย์ฯ บางคนก็เลิกสังฆกรรมกับบางหน่วยงานไป เนื่องจากว่างาน
                    ภาครัฐหาเงินทอนไม่ได้ ซึ่งยังเป็นบรรทัดฐานเดิมในปัจจุบัน ฉะนั้นโครงการฯ 10 ล้านบาทขึ้นไปก็เขียน 15

                    ล้านบาท แบบนี้เป็นต้น งบประมาณก็ล้นเกินไป
                                ข้าราชการทําเท่าที่จําเป็น ทําให้เสร็จไปตามเวลาและตัวชี้วัด เป็นหลัก โดยคุณภาพของ
                    งานไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่นัก

                                ทําเอาหน้าสร้างภาพ นิยมทํากันมาก ประเภทผักชีโรยหน้า ยังทํากันอยู่
                                เครือข่ายเทียม ราชการมีบทบาทหลัก คือ เมื่อหน่วยงานภาครัฐไปดําเนินภารกิจต่างๆ

                    มักจะบอกว่าไปสร้างเครือข่ายภาคประชาชน แต่จริงๆ ไม่ได้สร้างเครือข่ายฯ แต่กลับไปสั่งให้เขาทําตามที่
                    ตนเองต้องการ

                                ประเมินผลแบบพิธีกรรม ไม่สรุปบทเรียน หน่วยงานภาครัฐ เมื่อเวลาดําเนินโครงการใหญ่ๆ
                    ก็พยายามไปล้อบบี้กับพวกอาจารย์ฯ ว่าอาจารย์ฯ ต้องไม่ประเมินผลการดําเนินงานขององค์กรที่ตนเองทํางาน
                    อยู่ให้ดูแย่ เป็นต้น ซึ่งแบบแผนวิธีการเดิมเหล่านี้เกิดปัญหาทั้งนั้น

                    องค์กรราชการ : วิถีเดิม


                           เมื่อปี 2540 องค์กรราชการเริ่มที่จะมีการกระจายอํานาจ เน้นการมีส่วนร่วมมากขึ้น พอระยะเวลา
                    ผ่านไปประมาณ 10 กว่าปี ถึงปี 2557 เริ่มเปลี่ยนความคิด ซึ่งเกิดจากคณะรัฐประหารและมีความพยายามที่

                    จะเปลี่ยนแปลงวิถีเดิม


                                โครงสร้างรวมศูนย์อํานาจส่วนกลางและส่วนขยายในภูมิภาค ตัวอย่างเช่น
                    กระทรวงศึกษาธิการ พวกเราเห็นชัดเจนเลยว่า อย่างสมัยก่อนมี ผอ.เขตการศึกษารับผิดชอบกันไป ต่อมา
                    คสช. ก็มาตั้ง “ศึกษาธิการจังหวัด” ขึ้นมาอีกทีหนึ่ง คือสมัยก่อนศึกษาธิการจังหวัดเป็น Concept ในยุคก่อนปี
                    40 พอหลังปี 40 ก็เลิกแล้วมาใช้ “ผอ.เขตการศึกษา” พอปี 57 – 58 ก็ไปรื้อเอาของเก่ากลับมาอีก ทําให้

                    ตอนนี้ก็เลยมีทั้งสองอย่างคือ 1) ผอ.เขต กับ 2) ศึกษาธิการจังหวัด ก็เลยซ้ําซ้อนในเขตพื้นที่การศึกษา หรือการ
                    รวมศูนย์อํานาจอย่างการปกครองส่วนท้องถิ่นก็ดองมา 7 ปี ยังไม่เลือกตั้งเลย รวมศูนย์อํานาจขยายส่วน
                    ภูมิภาคออกไปมากมาย

                                การบริหารใช้ธรรมาภิบาลในกระดาษ ไร้ประสิทธิภาพขาดคุณธรรม รับผิดชอบต่ํา ส่วน
                    ร่วมแบบพิธีกรรม แต่ในความเป็นจริงถือว่าหน่วยงานก็จะเจอแบบนี้ นี่คือแบบแผนที่เราเห็นในหน่วยงานของ
                    รัฐจํานวนมากที่ยังไม่เปลี่ยน (ส่วนราชการต่างจังหวัดพอสามโมงเย็นก็ไปคนละทิศคนละทางแล้ว) ขาด
                    คุณธรรมในเรื่องของและองค์กรใช้เป็นประจําเงินทอน รับผิดชอบต่ํา ก็ทําให้มันเสร็จๆ ไป ส่วนร่วมแบบ

                    พิธีกรรมก็จัดกิจกรรม อีเวนท์เป็นหลัก

                                                        67                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81