Page 30 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 30
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
การถือครองที่ดิน ดังนี้ ข้อ 4.1 การลดความเหลื่อมล้ํา สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ 4.1.3 กระจายการถือ
ครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร โดยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเขตพื้นที่ป่าทับซ้อนพื้นที่ทํากินของ
ประชาชน รับรองสิทธิชุมชนในการเข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน กําหนดมาตรการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มี
กรรมสิทธิ์อย่างเป็นธรรม และกระจายการถือครองที่ดินในขนาดที่เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเพื่อให้เกิด
ความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน ปรับระบบเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดินประเภทต่าง ๆ ให้ผู้มีรายได้น้อย
และผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอพิจารณาสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้ รวมถึง
การปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณะเพื่อการประกอบอาชีพสําหรับประชาชน
เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเป็นธรรมและมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง (สํานักงาน
เลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, 2561) ตามภาพที่ 1 ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การกระจายสิทธิการถือ
ครองที่ดินเป็นหลักการพื้นฐานในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย เพื่อกระจายที่ดินไปให้
เกษตรกรถือครองและใช้ในการประกอบอาชีพโดยเท่าเทียมกัน แต่เมื่อการกระจายการถือครองที่ดินนั้นโดยตัว
ของมันเองไม่มีผลต่อการพัฒนาการเกษตรของประเทศโดยตรง เพราะการกระจายการถือครองที่ดินเป็นเพียง
ขั้นเริ่มต้นของการพัฒนาภาคเกษตรกรรม และเป็นเพียงการแก้ปัญหาเรื่องนายทุนสะสมที่ดินและช่วยจัดให้
ที่ดินมีลักษณะและขนาดที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมได้เท่านั้น เหตุนี้หากประสงค์จะพัฒนาการเกษตรและ
เศรษฐกิจของประเทศโดยทั่วไปแล้ว จําต้องพิจารณาถึงการกระจายการถือครองที่ดินให้สอดคล้องกับระบบ
โครงสร้างการเกษตรในประเทศ และต้องสอดคล้องกับนโยบายในการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมด้วย (ไชยยศ
เหมะรัชตะ, 2530)
ภาพที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)
ที่มา : สํานักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, 2561
มาโนช สุขสังข์ (ม.ป.ป.) กล่าวว่าผลการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการกระจายการถือครอง
ที่ดินอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 85(2) จากการศึกษา
พบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้้องกับการถือครองที่ดินของไทยมีหลายฉบับ อาทิประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497
พระราชบัญญัติ่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์์ พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติภาษีบํารุงท้องที่
พ.ศ. 2508 ฯลฯ ทั้งนี้กฎหมายแต่ละฉบับยังมีปัญหาในการบังคับใช้การตีความ และการอุดช่องว่างของ
กฎหมายอยู่หลายประการ ซึ่งเป็นอุปสรรคสําคัญต่อการกระจายการถือครองที่ดินให้ แก่ประชาชนอย่างเป็น
ธรรม เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ Albertus and Kaplan (2012) กล่าวว่า เจ้าของที่ดินขนาดใหญ่ที่มีอํานาจ
ทางการเมืองเป็นอุปสรรคการปฏิรูปที่ดินที่มีขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปที่ดินขาดประสิทธิภาพ ขาด
ความยั่งยืน ทําให้เกิดการกระจายตัวการปฏิรูปที่ดินตามพื้นที่ต่างๆ ส่งผลให้เกิดแรงการกระตุ้นในการปฏิวัติ
23 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย