Page 31 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 31
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
ต่ําไปด้วย Weideman (2004) กล่าวว่าแม้ว่ามีองค์กรเกี่ยวกับที่ดินมากมายแต่ขาดการมีส่วนร่วม
ในการพัฒนาอย่างน้อยๆ ใน 3 ส่วนคือ ด้านกฎหมาย ด้านการกําหนดอุปสงค์ และพื้นฐานด้านการตลาด
ในการพัฒนาด้านการปฏิรูปที่ดินก็ทําให้การปฏิรูปที่ดินไม่ประสบความสําเร็จ ผู้ศึกษามองว่าการกระจายสิทธิ
การถือครองที่ดินได้มีกฎหมายต่าง ๆ มากมายที่กําหนดไว้แต่การดําเนินงานยังไม่เป็นผลสําเร็จเท่าที่ควร
เนื่องจากที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศยังอยู่กับนายทุนรายใหญ่ แม้ว่ารัฐจะพยายามสร้างแรงจูงใจ และมาตรการ
ต่าง ๆ อีกทั้งกฎหมายก็ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่มากทําให้เป็นอุปสรรคสําคัญในการดําเนินงานตามนโยบาย
การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
ที่ดินของรัฐมีในหลายกระทรวงที่กํากับดูแล แต่ถูกบุกรุกเข้าทําประโยชน์โดยราษฎร เช่น
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ทั้งนี้รวมทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แม้ไม่ได้เป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามโดยตรงแต่ก็เป็นการบุกรุก
พื้นที่ทํากินโดยตรงในพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องนี้หลายรัฐบาลพยายามจะแก้ไขให้สามารถ
เกิดประโยชน์กันทุกฝ่าย ในการบุกรุกที่ดินของรัฐมีมาทุกยุคสมัย เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (2535) ได้ศึกษาเรื่อง
“วิวัฒนาการบุกเบิกที่ดินทํากินในเขตป่า” ซึ่งทําให้เห็นการขัดแย้งในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยได้
แบ่งเป็น 4 ยุคคือ ยุคสังคมบ้านป่า ยุคสัมปทาน ยุคพืชพาณิชย์ และยุครัฐหวงป่า ซึ่งเป็นยุคที่ภาครัฐเข้าไปมีส่
วนร่วมในการจัดการป่าในชุมชนท้องถิ่นอย่างชัดเจน เพราะป่ามีน้อยลง เพื่อที่จะรักษาป่าไม้เอาไว้ จึงมีการ
กําหนดเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนประเภทต่าง ๆ เอาไว้ให้เป็นของรัฐ และมีการอพยพโยกย้ายขับไล่ชุมชน
ออกจากพื้นที่ในบางแห่งจึงเกิดประเด็นขัดแย้งทางกฎหมายระหว่างรัฐและประชาชนในเรื่องป่าและที่ดินจน
เป็นปัญหามาถึงปัจจุบัน นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2543) กล่าวว่า คนจนกับนโยบายการทําให้จนของรัฐ เพราะคนจน
คือ ผู้ที่ไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต และการจะแก้ปัญหาความยากจนจะต้องแก้ไขตั้งแต่
โครงสร้างในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ในเรื่องที่ดินและป่าไม้ของรัฐที่ระบบและหน่วยงานราชการขาด
การประสานงานกัน ทําให้ละเลยชุมชนท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์จากป่า ตลอดจนมีปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างประชาชนและหน่วยงานรัฐ นโยบายของรัฐคือตัวหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว สุริยา ดงคํา, บําเพ็ญ
เขียวหวาน และ เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ (2554) กล่าวถึงผลการศึกษาสาเหตุการบุกรุกป่า พบว่าการไม่มี
ที่ดินทํากินของชาวบ้าน หรือมีแต่ไม่พอที่จะทํากินเป็นสาเหตุหลัก จึงต้องบุกรุกป่าเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกพืช
เศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงทางรายได้ ของครอบครัวอีกทั้งการขาดเอกสารสิทธิในที่ดินก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อ
ให้เกิดการบุกรุกที่ดินในเขตป่า และที่สําคัญคือรัฐยังไม่มีมาตรการการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ชัดเจน
สอดคล้องกับพฤกษา เครือแสง, วรญา จตุพัฒน์รังสี และ พรสวรรค์ มณีทอง (2562) กล่าวว่าปัญหาการบุก
รุกในที่ดินรัฐเพิ่มมากขึ้น เพราะประชาชนยากจน ขาดที่ทํากิน ด้วยจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและพื้นที่ทํากินมี
เท่าเดิม ปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะขาดการดูแลและแก้ไขเนื่องด้วยปัจจัยหลายด้าน อาทิ เจ้าหน้าที่ขาด
ความรู้ทางด้านกฎหมายอย่างเพียงพอ ประชาชนขาดจิตสํานึก ไม่ให้ความร่วมมือในการช่วยกันแก้ไขปัญหา
โดยอ้างว่าตนมีสิทธิเพราะอาศัยอยู่ในพื้นที่มาตั้งแต่บรรพบุรุษ และที่สําคัญประชาชนไม่ทราบกฎหมาย
เกี่ยวกับที่ดิน อันเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการราชการของหน่วยงานภาครัฐที่ดูแล
ดังนั้นผู้ศึกษามองว่า รัฐบาลควรมีแนวทางการบริหารทรัพยากรดินแบบองค์รวม โดยหลักเพื่อปรับปรุง
กฎหมายด้านทรัพยากรดินให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับรัฐบาลภายใต้การนําของพลเอกประยุทธ์
จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้มีแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ.2560-2564)
ภายใต้นโยบายบูรณาการการจัดที่ดินและทรัพยากรดินให้มั่นคง เพื่อเศรษฐกิจ สังคมที่มั่งคั่ง อนุรักษ์อย่าง
สมดุลและยั่งยืน ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ 20 กลยุทธ์ โดยเฉพาะในยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดที่ดินให้ประชาชนเพื่อ
สร้างคุณภาพชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและลดความเหลื่อมล้ําในสังคม ตามภาพที่ 2
24 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย