Page 64 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 64

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    (Seamless Operation) อันจะนําไปสู่การยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์การทางเศรษฐกิจระดับโลก

                    สําหรับรองรับการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลเรียกว่า First S-curve ทั้งนี้
                    คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกยังได้ประกาศหลักเกณฑ์ในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือ
                    ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ.2560 (EEC Track) เพื่อให้การลงทุนใน EEC สามารถดําเนินงานได้อย่างสะดวก
                    มากขึ้น รวมถึงการประกาศร่างแผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยี ระหว่าง
                    ปี 2560 – 2564 และอนุมัติงบประมาณจากงบกลางปี 2561 สําหรับโครงการเร่งด่วนที่มีความจําเป็นที่ต้อง
                    ดําเนินการตามแผนปฏิบัติการพัฒนาดังกล่าว (กฤช เพิ่มทันจิตต์และ สุธี ประศาสนเศรษฐ,2530)
                              การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีแนวทางการขับเคลื่อน ดังนี้

                    มุ่งผลักดันอุตสาหกรรม 10 ประเภท แบ่งออกเป็น 5 อุตสาหกรรมเดิมที่ไทยมีศักยภาพต่อยอด (First S-
                    Curve) คือ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและเชิงสุขภาพ การเกษตร
                    และเทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปอาหาร กับ 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) คือ หุ่นยนต์เพื่อ
                    การอุตสาหกรรม การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวิภาพ ดิจิทัล และการแพทย์ครบวงจรการ
                    ใช้กฎหมายพิเศษเพื่อความยืดหยุ่นและลดขั้นตอนทางกฎหมายและระบบราชการ เพื่อให้การประสานงานกับ
                    หน่วยงานและภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น การจัดการศึกษาและพัฒนาทรัพยากร
                    มนุษย์ เพื่อสร้างความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
                    ด้วยการร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment of
                    Thailand-BOI) และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สามจังหวัดภาคตะวันออกในการเพิ่มสัดส่วนภาค

                    อาชีวศึกษาร้อยละ 70 และภาคอุดมศึกษาร้อยละ 30 การจัดฝึกอบรมแก่บัณฑิตที่ว่างงาน จัดตั้งศูนย์
                    มาตรฐานอาชีพ และตั้งศูนย์ข้อมูลวิจัยอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น  และเพื่อดึงดูดการพัฒนาและการลงทุนจากทุน
                    ในและนอกประเทศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้มีมาตรการส่งเสริมการลงทุนหลายประการ เช่น การ
                    ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับบางกิจกรรมนานสูงสุดถึง 13 ปี ยกเว้นอากรขา
                    เข้าสําหรับเครื่องจักร วัตถุดิบที่นําเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกและยกเว้นอากรสินค้าที่นําเข้ามาเพื่อการวิจัยและ
                    พัฒนา การให้สิทธิ์การเช่าที่ดินราชพัสดุถึง 50 ปี และสามารถพิจารณาต่ออายุอีก 49 ปี มาตรการลดอัตรา
                    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้เหลือร้อยละ 17 ต่ําสุดในอาเซียนสําหรับผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิจัยที่มี

                    คุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกําหนดในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่ม
                    ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสําหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
                    การลงทุน โดยผู้ที่จะสามารถรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาค
                    ตะวันออก EEC จะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ข้อดังต่อไปนี้
                              1.  ดําเนินธุรกิจในขอบข่ายอุตสาหกรรมเป้าหมาย อุตสาหกรรมเป้าหมาย คืออุตสาหกรรมหลัก
                    ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งก็คืออุตสาหกรรม New S-Curve
                              2.  มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เช่น สถาบันการศึกษาสถาบันวิจัยหรือศูนย์ความเป็นเลิศ ผู้
                    ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจะต้องมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศ

                    (Center of Excellence) ตามรูปแบบความร่วมมือที่กําหนด อาทิ ความร่วมมือในโครงการ Talent Mobility,
                    Work-integrated Learning (WiL) สหกิจศึกษา ทวิภาคี โครงการอาชีวะพิเศษในเขตพัฒนาพิเศษภาค
                    ตะวันออก
                              3.  ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง และอยู่ภายในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งดังนี้
                    1 เขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ ได้แก่ เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล เมืองการบินภาค
                    ตะวันออก และเขตนวัตกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

                                                        57                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69