Page 65 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 65
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
4. เขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออกประกาศกําหนดซึ่งมี 21 แห่ง เช่น นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง เป็นต้น
5. นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม นิคมอุตสาหกรรมหรือเขต
อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมในจังหวัด
ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง 18 แห่ง เช่น สวนอุตสาหกรรม 304 (โครงการ 2) นิคมอุตสาหกรรมเกทเวย์
นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ เป็นต้น (กฤช เพิ่มทันจิตต์ และ สุธี ประศาสนเศรษฐ, 2530)
โครงการ EEC ในปัจจุบัน
หลังการประกาศจัดตั้ง EEC ในปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบัน โครงการ EEC ยังอยู่ในขั้นตอนการ
สร้างโครงสร้างพื้นฐาน รถไฟความเร็วสูงที่กําลังอยู่ในขั้นตอนเตรียมการประมูล และการจัดสรรพื้นที่ เรื่องที่มี
ความคืบหน้ามากที่สุดคือเรื่องของความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และความร่วมมือระหว่าง
ประเทศ เช่น ภาครัฐ-ภาคธุรกิจจากจีน กลุ่มทุนด้านอสังริมทรัพย์ของไทย อาทิ พฤกษา เรียลเอสเตท ศุภาลัย
ควอลิตี้ เฮ้าส์ เป็นต้น โดยบรรยากาศการลงทุนจากต่างชาติในพื้นที่ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาภาครัฐ
ไทยและจีนได้ลงนาม MOU 10 ฉบับเพื่อส่งเสริมหนุนไทยแลนด์ 4.0 – EEC เชื่อมโยง One Belt One Road
โดย MOU ทั้ง 10 ฉบับมีเนื้อหาครอบคลุมในหลายมิติ เช่น ความเข้าใจความร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ประกอบการจีนในประเทศไทย บันทึกความเข้าใจในข้อตกลงเพิ่มเติมโครงการ
ร่วมลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยองประเทศไทย ระหว่าง บริษัท ซี.พี. แลนด์ จํากัด (มหาชน) กับกลุ่ม
บริษัท ก่อสร้างของมณฑลกวางสีประเทศจีน และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบันทึกข้อตกลง
ความร่วมมือในการพัฒนาสนามทดสอบและพันธมิตรเพื่อนําเทคโนโลยี 5 จี ไปใช้ในช่วงต้น ระหว่างสํานักงาน
ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด เป็นต้นการมาของนักลงทุนจีนครั้ง
นี้ถือเป็นครั้งแรกที่ลงพื้นที่ EEC อย่างเป็นทางการและเป็นผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของจีน
เช่น หัวเว่ย ที่มีโครงการลงทุน 5G ก็มาลงพื้นที่ EEC ครั้งนี้ด้วย ที่เหลือจะเป็นนักลงทุนระดับกลางๆ แต่เป็น
อุตสาหกรรมที่ไทยต้องการ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมการแพทย์
ครบวงจร และอุตสาหกรรมดิจิทัล กิจการด้านเทเลคอมพ์ (สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก,2560).
นับเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะเชื่อม EEC กับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt
One Road) ของจีนโดยเน้นความร่วมมือพัฒนาบุคลากรไทยให้รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
รวมถึงการสร้างความร่วมมือในการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งไทย-จีนด้วย ในส่วนของการประชุม
คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2561 คณะกรรมการ
ได้หารือกันในประเด็นต่างๆ อาทิเช่น กรอบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ ครอบคลุมทั้งเรื่องของเมืองการ
บินภาคตะวันออก สนามบินอู่ตะเภา โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานสนามบินอู่ตะเภา โครงการท่าเรือแหลม
ฉบังระยะที่ 3 และ โครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 แผนพัฒนา แผนพัฒนาโครงการแผนปฏิบัติการการ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลระยะเวลา 5 ปี เช่น แผนการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรม
ดิจิทัล (Digital Park Thailand) และสถาบัน IOT แผนการพัฒนา Advanced Big Data, Cloud and Data
Center (ABCD) แผนการพัฒนาศูนย์กระจายพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ (Automated Postal Distribution
Center)
58 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย