Page 83 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 83

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    ทิศทางการกระจายอํานาจของท้องถิ่นในอนาคต ควรจะเป็นอย่างไร

                              1. รัฐไทยต้องกระจายอํานาจให้กว้างขวางและเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ผลการวิจัยครั้งนี้ยืนยันว่า การ
                    กระจายอํานาจในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา เป็นทิศทางที่ถูกต้อง แม้ท้องถิ่นจะมีบทบาทและมีขีดความสามารถ
                    จํากัด แต่ภายใต้ข้อจํากัดที่ว่านี้ ก็ได้ทําให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะ
                    ขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึงมากขึ้นอย่างชัดเจน รัฐจึงควรผลักดันให้มีการกระจายอํานาจให้กว้างและเข้มข้นมาก
                    ยิ่งขึ้น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการเมืองในภูมิภาคต่างๆ ที่กําลังเติบโตอย่างรวดเร็วได้จริงๆ
                              2. ปรับปรุงแนวคิดในการถ่ายโอนภารกิจสู่ท้องถิ่นเสียใหม่ ให้ท้องถิ่นขนาดเล็ก (เทศบาลตําบล
                    และ อบต.ขนาดเล็ก) มีหน้าที่จัดบริการพื้นฐานเพียงไม่กี่ประเภท ที่สามารถดําเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

                    จริงๆ เท่านั้น และให้ถ่ายโอนภารกิจ “ขนาดใหญ่” ให้องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบน (อบจ.) และเทศบาล
                    ขนาดใหญ่ (เทศบาลนครและเทศบาลเมือง) เป็นผู้ดําเนินการหรือแก้ไขปัญหาให้ประชาชน และสนับสนุนให้
                    ท้องถิ่นระดับต่างๆ ทํางานร่วมกันอย่างเข้มข้นมากขึ้นในการดูแลประชาชน
                              3. ยุติกุศโลบายการกระจายอํานาจแบบ “สมัครใจ” และนํามาตรการเชิงบังคับและกํากับดูแล
                    ลงโทษและจูงใจมาใช้ในการบริหารระบบการกระจายอํานาจ เพื่อให้รัฐและส่วนราชการถ่ายโอนภารกิจ
                    บุคลากรและงบประมาณให้แก่ท้องถิ่นและให้ท้องถิ่นรับภารกิจถ่ายโอนไปดําเนินการอย่างจริงจัง (โดยเฉพาะ
                    กลุ่มภารกิจที่จะต้องดําเนินการตามกฎหมาย)
                              4. ปรับระบบบริหารนโยบายกระจายอํานาจให้มีพลังขับเคลื่อน ให้มีองค์กรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
                    การบริหารจัดการนโยบายการกระจายอํานาจที่เป็นเอกภาพ มีความเป็นอิสระจากการเมืองและมีอํานาจ

                    ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการกระจายอํานาจ ซึ่งมีผลผูกพันต่อส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
                              5. ทบทวนและยกเลิกมาตรการควบคุมท้องถิ่นที่ “ไม่จําเป็น” เช่น มาตรการจํากัดรายจ่าย
                    บุคลากร ไม่เกินร้อยละ 40 ตลอดจนถึงการตีความอํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ขัดแย้งกับ
                    เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจฯ ฯลฯ เป็นต้น
                              6. ยกระดับประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการบริหารจัดการเมืองและชุมชนชนบทของ
                    ท้องถิ่น ปรับโครงสร้างการปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นเสียใหม่ โดยยุบรวมจังหวัด (ซึ่งเป็น “หน่วย
                    ราชการส่วนภูมิภาค) และ อบจ. เข้าด้วยกัน และจัดการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

                    ให้มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด หรือที่เรียกกันว่า “จังหวัดปกครองตนเอง” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เงิน
                    งบประมาณของรัฐ ลดความซ้ําซ้อนในเชิงโครงสร้างระหว่าง “ภูมิภาค” และ “ท้องถิ่น” ในระดับจังหวัด และ
                    ให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการเมืองและชุมชนชนบทในพื้นที่จังหวัดหนึ่งๆ ให้ดํารงอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล
                    และยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ก็ให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบการบริหารจัดการเมืองขนาดใหญ่
                    ขนาดกลางและเมืองที่มีหน้าที่เฉพาะอื่นๆ เช่น เมืองเศรษฐกิจการค้า เมืองชายแดน เมืองอุตสาหกรรม ฯลฯ
                    เป็นต้น ที่ตั้งอยู่ภายในจังหวัดหนึ่งๆ ได้อีกด้วย

                    ทางเลือกที่น่าสนใจต่อการแก้ไขปัญหาการกระจายอํานาจของท้องถิ่นไทยในภาพรวม
                              ในมุมมองของผู้เขียน เห็นว่า จากปัญหาของการกระจายอํานาจของท้องถิ่นไทยดังกล่าวข้างต้น
                    มีความซับซ้อนและหลากหลายมิติ อาจจะทําให้ยากต่อการแก้ไขปัญหาให้สําเร็จได้เพียงหน่วยงานใดหน่วยงาน
                    หนึ่ง หรือภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง ประเด็นสําคัญคือจะทําอย่างไรที่จะทําให้ทุกหน่วยงานและทุกภาคส่วนที่

                    เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาการกระจายอํานาจของท้องถิ่นไทยในภาพรวมให้ตรงจุดและ
                    เป็นรูปธรรม ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอนําเสนอทางเลือกที่น่าสนใจต่อการแก้ไขปัญหาการกระจายอํานาจของท้องถิ่น
                    ไทยในภาพรวม โดยควรศึกษาและนํา “ตัวแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน”
                    (Collaborative Governance) มาประยุกต์ใช้กับการบริการจัดการการปกครองท้องถิ่นของไทย ซึ่งเป็น
                                                        76                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88