Page 141 - thaipaat_Stou_2563
P. 141

งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓



                       ข้อเรียกร้องให้น าแนวคิดเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมมาใช้ในการศึกษาและการท างานของรัฐประ

               ศาสตร์นั้นเกิดขึ้นภายใต้บริบทของสหรัฐอเมริกาในช่วง ค.ศ. 1960 ที่ต้องเผชิญกับปัญหารอยแยกทางสังคม
                                 ั
               (social cleavage) อนเกิดจากความขัดกันระหว่าง 2 สิ่ง คือ การด าเนินเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ต้องอาศัย
               ความเหลื่อมล้ า (inequality) ในการอยู่รอด กับการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ให้ความส าคัญกับ

               ความเท่าเทียมระหว่างบุคคล (equality) ภายใต้ความเท่าเทียมตามกฎหมาย (Guy and McCandless,
                                                         ื้
               2012, p. s5) หรือความเท่าเทียมทางโอกาสที่เออต่อการล่าฝันของคนอเมริกัน (Americans dream) ความ
               ขัดกันระหว่างสองสิ่งนี้ท าให้เกิดช่องว่างระหว่าง “คนมี” และ “คนไม่มี” ที่ต้องเผชิญกับการไม่ถูกนับรวมให้
               ร่วมฝัน ความขัดกันนี้ไปถูกแปรเปลี่ยนเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมจากกลุ่มผู้คนที่เสียเปรียบในสังคม

               เช่น ผู้หญิง คนผิวสี เป็นต้น ผลของเหตุการณ์ท าให้เกิดความพยายามใช้แนวคิดเรื่อง “ความเป็นธรรมทาง
               สังคม” เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางอ านาจที่ไม่เท่าเทียมดังกล่าว (Gooden, 2015, p. 372)


                       ความเป็นธรรมทางสังคมเป็นแนวคิดที่ให้ความส าคัญกับเรื่องการกระจาย-แจกจ่ายความยุติธรรม

                                                                                          ุ
               (distribution of fairness) ของกลุ่มคนที่เสียเปรียบในสังคมโดยค านึงถึงปัจจัยที่เป็นอปสรรคของความ
               เสียเปรียบดังกล่าว (Gooden, 2015, p. 373) ความเป็นธรรมทางสังคมจึงพงเป้าหมายไปที่ปัญหา
                                                                                     ุ่

                         ั
               “ความสัมพนธ์ทางอานาจที่ไม่เท่าเทียม” ทั้งนี้ ความแตกต่างระหว่างความเสมอภาค (equality) และความ
               เป็นธรรม (equity) เป็นสองค าที่มักถูกใช้สลับไปมา อย่างไรก็ตามสองค านี้มีความต่างที่ชัดเจน คือ ความเสมอ
               ภาค (equality) จะมีลักษณะของความเหมือนกัน (one size fits all) เช่น การที่คนทุกคนความเท่าเทียมใน

               สายตาของกฎหมาย ขณะที่ความเป็นธรรมไม่ได้มีนัยยะของความเหมือนกันดังกล่าว แต่ให้ความส าคัญกับการ
               ท้าทาย “ความสัมพนธ์ทางอานาจที่ไม่เท่าเทียม” ในสังคมโดยยึดโยงความส าคัญกับบรรดาผู้ที่เสียเปรียบใน

                                ั
                    25
                                                                                                    ุ
                        ี
               สังคม  อกทั้ง ความเป็นธรรมยังมีลักษณะของ “การทับซ้อน” (intersection) ระหว่างปัจจัยที่เป็นอปสรรค
                                                                        26
               เช่น เชื้อชาติ สีผิว ชนชั้น ศาสนา สถานะทางสังคมและสังคม เป็นต้น  (Guy and McCandless, 2012, p.
               s10) ฉะนั้น หากพจารณาในทางปฏิบัติแล้ว การได้มาซึ่งความเสมอภาคอาจเป็นสิ่งที่ท าได้ง่ายกว่าความเป็น
                               ิ
               ธรรม  (Guy and McCandless, 2012, pp. s5 - s6) แต่นั่นก็ไม่สามารถปฏิเสธความส าคัญของความเป็น

               ธรรมทางสังคมไปได้

                       ความเป็นธรรมทางสังคมจึงมีความส าคัญอย่างมากกับรัฐประศาสนศาสตร์ในฐานะที่ต้องรับใช้

               ประชาชน ทั้งส่วนการก่อร่างนโยบาย การน านโยบายไปปฏิบัติ และให้บริการโดยค านึงถึงผู้ที่ได้รับกระทบและ
               ผู้ที่เสียเปรียบในสังคม (Frederickson, 2010, Gooden, 2015, p. 377) จากกรณีการเข้าไม่ถึงไฟฟาของ
                                                                                                     ้
                                                                             ึ
               ชาวบ้านหนองตาแต้มจากการถูกปฏิเสธสิทธิในการรับบริการสาธารณะที่พงได้จากรัฐภายใต้ข้อโต้แย้งว่าการที่
                                                                                           ้
                                                                                                   ื่
               ชาวบ้านรุกล้ าพนที่ของค่ายธนะรัชต์เป็นการกระท าที่ผิดกฎหมาย ชาวบ้านจึงไม่มีสามารถอางสิทธิเพอขอรับ
                             ื้

               25  เช่น การเข้าศกษาในโรงเรียนของที่ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ในสายตาของความเสมอภาคอาจท าได้โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เข้าศกษา
                          ึ
                                                                                                      ึ
                                                                                                ิ
               เหมือนกันทุกคนโดยอาจไม่ค านึงถึงอุปสรรคทางภาษา แต่ในสายตาของความเป็นธรรม เด็กคนดังกล่าวจ าต้องได้รับการสอนเพิ่มเตมเพื่อให้เขาพูด
               ภาษาไทยได้และเข้าใจการเรียนการสอนทัดเทียมกับนักเรียนคนอื่น
               26  เช่น ปัญหาการเข้าเข้าโรงเรียนของลูก “แรงงานข้ามชาติ” ที่ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ สะท้อนถึงความทับซ้อนกันระหว่างปัญหาความไม่เป็น
               ธรรมที่เกิดขึ้นจากปัจจัยด้านเชื้อชาติ และสถานะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
                                                                                                     139
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146