Page 256 - thaipaat_Stou_2563
P. 256

งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓



                       ในประเด็นเรื่องที่มาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูเหมือนว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จะมุ่งเน้น
               ประชาธิปไตยทางตรงมากที่สุดทั้งในด้านที่มาของสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ขณะที่รัฐธรรมนูญ

                 ี
               อกสองฉบับเปิดช่องให้สภาท้องถิ่นสามารถให้ความเห็นชอบผู้บริหารได้ ในประเด็นนี้ยังนับว่ารัฐธรรมนูญทั้ง

               สามฉบับให้อานาจแก่ท้องถิ่นอย่างสูงในการได้มาซึ่งฝ่ายบริหารเช่นเดียวกัน แต่ที่ดูเหมือนจะมีความแตกต่าง
               อย่างมีนัยส าคัญก็คือการได้มาซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพเศษซึ่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ไม่ได้
                                                                          ิ
               ระบุหลักเกณฑ์วิธีการเอาไว้แต่อย่างใด ขณะที่รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับแรกระบุชัดเจนว่าให้ได้มาด้วยการเลือกตั้ง

                                                                                        ิ
                               ื้
               ของประชาชนในพนที่ ในแง่นี้ –กล่าวเฉพาะกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพเศษตามรัฐธรรมนูญ
               พ.ศ. 2560- จึงชี้ให้เห็นว่าส่วนกลางสามารถจัดการให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในท้องถิ่นที่

               รัฐเห็นว่ามีความจ าเป็นเหมาะสมได้เอง นับว่าเป็นการดึงอานาจในการตัดสินใจของประชาชนในท้องถิ่นกลับ
               ไปสู่ส่วนกลาง

                       กำรตรวจสอบโดยส่วนกลำง ส่วนภูมิภำคและภำคประชำชน
                       ในประเด็นด้านการการตรวจสอบ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 วางมาตรการการตรวจสอบถอดถอน
                                        ื้
               ให้อยู่ในมือของประชาชนในพนที่อย่างชัดเจน โดยระบุสัดส่วนจ านวนของผู้มีสิทธิในการด าเนินการดังกล่าวไว้
               อย่างชัดเจน ขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ระบุเพียงว่าให้เป็นไปตามกฎหมายก าหนด แต่อย่างไรก็ตาม

               รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 และรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ได้ระบุให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงาน
               การใช้จ่ายงบประมาณและผลการด าเนินงานให้ประชาชนทราบเป็นรายปีด้วย ในประเด็นนี้จึงนับว่าเป็น
               ความก้าวหน้าของรัฐธรรมทั้งสองฉบับ

                       กระนั้นก็ดี รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ระบุให้การแต่งตั้ง ถอดถอน
               ข้าราชการและพนักงานท้องถิ่นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการท้องถิ่นซึ่งประกอบขึ้นจากหลาย
               ฝ่าย ซึ่งมีผู้แทนจากส่วนราชการด้วยในแง่นี้การด าเนินการในด้านนี้ของท้องถิ่นจึงถูกถ่วงดุลด้วยส่วนราชการ
               ด้วย แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กลับไม่ได้ระบุประเด็นนี้ไว้แต่อย่างใด ระบุเพยงประเด็น
                                                                                                ี
               เรื่องการโอนย้ายพนักงานระหว่างกันเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองซึ่งไม่แตกต่างจาก

               รัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับ
                       ในประเด็นเรื่องการตรวจสอบโดยส่วนกลางอาจถือได้ว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550
               ได้ออกแบบระบบการตรวจสอบในแง่การบริหารงานบุคคลไว้อย่างชัดเจน ขณะที่รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุไว้แต่

               อย่างใด ในแง่นี้อาจมองได้ว่ารัฐธรรมนูญได้เปิดทางให้มีบทบัญญัติในกฎหมายอื่นที่จะออกแบบกลไกนี้ก็เป็นได้
               อภิปรำยผลและสรุปผลกำรศึกษำ

                       จากผลการศึกษาข้างต้นจะเห็นว่าในมิติอำนำจ หน้ำที่และงบประมำณ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

               และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มีทิศทางที่กระจายอานาจในการก าหนดนโยบายด้านต่างๆ ขององค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นไว้มากกว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 อย่างเห็นได้ชัด กล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีทิศทาง
               ที่จะดึงอ านาจในการก าหนดนโยบายกลับมาสู่ส่วนกลางมากกว่ากระจายอ านาจ ในมิติของกำรได้มำซึ่งองค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น รัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับวางหลักการเช่นเดียวกันว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมา
                                                                  ้
               จากการเลือกตั้งของประชาขน (ในว่าจะโดยตรงหรือโดยออมก็ตาม) แต่อย่างไรก็ตามข้อที่น่าสังเกตก็คือ
               ส าหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพเศษนั้นรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 นั้นเปิดช่องให้ส่วนกลางสามารถ
                                                    ิ
               จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ นับว่าแสดงให้เห็นถึงทศทางการดึงอ านาจเข้าสู่ส่วนกลางอย่างมีนัยส าคัญ
               ในขณะที่ในมิติ กำรตรวจสอบโดยส่วนกลำง ส่วนภูมภำคและภำคประชำชน รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ
                                                            ิ
               รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ออกแบบให้มีกลไกให้ส่วนราชการมีส่วนในการตรวจสอบการถอดถอนข้าราชการ




                                                                                                     254
   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261