Page 66 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 66

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                              นอกจากความเคลื่อนไหวจากภาครัฐ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในด้านธุรกิจแล้ว ภาคส่วนอื่นๆ เช่น

                    สื่ออย่างหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจก็มีความตื่นตัวตอบรับกับโครงการ EEC ด้วยงานจัดงานสัมมนาในพื้นที่สาม
                    จังหวัดเขต EEC สําหรับการจัดการน้ําเพื่อรองรับการผลิตที่จะขยายตัวอย่างมหาศาลในพื้นที่ บริษัท จัดการ
                    และพัฒนาทรัพยากรน้ําภาคตะวันออก จํากัด (มหาชน) หรืออีสท์ วอเตอร์ได้ร่วมมือกับกรมชลประทาน โดยมี
                    การประปาส่วนภูมิภาคเป็นผู้วางแผนการใช้น้ํา และในส่วนของการศึกษาซึ่งเป็นสิ่งสําคัญสําหรับการพัฒนา
                    บุคลากรและแรงงานในพื้นที่นั้นกระทรวงศึกษาธิการได้เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงแรงงาน สํานักงาน
                    คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรในสาขาวิชา
                    ต่างๆ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC นอกจากนี้สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอ

                    ศ.) ยังได้ดําเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนากําลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.
                    2560-2564) ตลอดจนจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาค
                    ตะวันออก จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากําลังคนอาชีวศึกษาจํานวน 18 แห่งทั่วทุกภูมิภาคเพื่อ
                    รองรับโครงการ EEC นอกจากอาชีวศึกษาแล้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นอีกหนึ่งสถาบันการศึกษาที่ได้
                    สร้างความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนและพัฒนา EEC อีกด้วย (สํานักงาน
                    คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก,2560).
                              การที่โครงการ EEC เป็นโครงการขนาดใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ
                    เอกชนและประชาชน ครอบคลุมในหลายมิติไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ การ
                    ส่งเสริมการลงทุนของทั้งทุนไทยและทุนต่างชาติ ไปจนถึงมิติในพื้นที่ เช่น เรื่องการศึกษา การพัฒนาฝีมือ

                    แรงงาน การสร้างอาชีพ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม และนําประเทศ
                    ไทยให้พ้นไปจากกับดักรายได้ปานกลาง การจะขับเคลื่อน EEC จึงจําเป็นต้องใช้มาตรการพิเศษทั้งในรูปแบบที่
                    เป็นกฎหมายและนโยบาย เช่น พรบ.EEC มาตรการส่งเสริมการลงทุน การลดภาษี รวมถึงการใช้มาตรการจาก
                    ภาคส่วนอื่นๆ ในพื้นที่ เช่น ภาคเอกชน ภาคการศึกษา เพื่อร่วมมือพัฒนาพื้นที่ไปพร้อมกับกลไกคณะกรรมการ
                    EEC ของภาครัฐ (สํานักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2559).


                                 สาเหตุที่ทําให้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษเป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจ
                                                      และสังคมที่สําคัญสู่เอเชีย



                    1.   ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์
                              ตําแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางทวีปเอเชีย ซึ่งมีประชากรมากกว่าครึ่งของโลกอาศัย
                    อยู่ประเทศไทยจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงประเทศเศรษฐกิจสําคัญของภูมิภาคด้วยจํานวนประชากรที่
                    เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการเติบโตที่แซงหน้าทวีปอื่นเอเชียจึงเป็นทวีปที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รุ่งเรือง
                    แห่งยุคสมัยศักยภาพสําคัญของพื้นที่ EEC คือ การเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์แห่งภูมิภาคอาเซียน เป็นประตูสู่เอเชีย
                    โดยสามารถเข้าถึงประชากรโลกได้กว่าครึ่งหนึ่ง โดย EEC คือเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
                    อาเซียน ทั้งในเชิงงบประมาณ และขนาดพื้นที่ GDP ของทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกอาเซียน และอินเดีย มี
                    มูลค่ารวมกว่า 1/3 ของ GDP โลก โดยในอนาคต EEC จะคือศูนย์กลางเชื่อมโยงกับการพัฒนาระเบียง
                    เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และระเบียงตะวันออก-ตะวันตก ทั้งยังเป็นศูนย์กลางของความเชื่อมโยงมหาสมุทรอินเดีย

                    กับมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง และทางตอนใต้ของประเทศจีนด้วยปัจจัยที่
                    ทําให้ไทยเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ศูนย์กลางการลงทุน คือ มีพื้นที่ตลาดขนาดใหญ่และมีกําลังซื้อสูงจากอาเซียน
                    จีน และอินเดีย อีกทั้งยังมีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการลงทุนจุดเด่นที่หลากหลายทั้งด้าน

                                                        59                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71