Page 81 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 81
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
อุปถัมภ์มาใช้ทําให้ขวัญและกําลังใจของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตกต่ํา ไม่ตั้งใจที่จะอุทิศตน
ให้กับการทํางานได้เต็มที่
4) ปัญหาทางด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามหลักการปกครองตนเองของ
ประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ แต่ในทางปฏิบัติจะพบว่า การมีส่วนร่วมในการ
ปกครองท้องถิ่นของประชาชนมีค่อนข้างน้อย คงมีเพียงแต่การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสภาองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
5) การทับซ้อนของอํานาจ การที่มีรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาค มีส่วนในการ
บริหารงาน และแม้แต่ท้องถิ่นเองยังมีการทับซ้อนกันอยู่ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดทับซ้อนพื้นที่กับ
องค์การบริหารส่วนตําบล ซึ่งความทับซ้อนดังกล่าวก่อให้เกิดความสับสนในหมู่ประชาชนและยังขาดเอกภาพ
ในการแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นอีกด้วย
6) ความล่าช้าในการกระจายอํานาจ โดยเฉพาะด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุข
เนื่องจากหน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังดําเนินการด้านนี้อยู่ ส่วนหนึ่งเกิดจากข้าราชการเกิด
การต่อต้านที่จะย้ายไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายจากสํานักงานปลัดสํานัก
นายกรัฐมนตรี โดยสํานักงานคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถ
ประมวลสาเหตุของปัญหาอุปสรรคของการกระจายอํานาจได้เป็น 2 เรื่องคือ
1. นโยบายการกระจายอํานาจในรอบ 15 ปีที่ผ่านมาไม่ต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม
นโยบายของรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ เช่น ในช่วงปี 2540-2543 มีความชัดเจน เข้มแข็ง กระตือรือร้น
แต่รัฐบาลหลังจากนั้นกลับใช้นโยบายรวมศูนย์อํานาจเข้าสู่ส่วนกลาง จนถึงปี 2549 รัฐบาลหลังปี พ.ศ. 2549
ก็ขาดเสถียรภาพและไม่มีนโยบายด้านกากระจายอํานาจที่ชัดเจน ปล่อยให้การกระจายอํานาจตกอยู่ในมือของ
ข้าราชการประจําและนักการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร
2. วิธีการกระจายอํานาจผิดพลาด ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ภารกิจส่วนใหญ่ถูกถ่ายโอน
ลงไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างสุด ซึ่งก็คือเทศบาลและ อบต. แต่ในอีกด้านหนึ่ง กว่าร้อยละ 70
ของเทศบาลและ อบต. ในปัจจุบันมีขนาดเล็กและมีขีดความสามารถจํากัด ทําให้เทศบาลและอบต. ส่วนใหญ่
ไม่สามารถรับภารกิจที่ส่วนราชการต่างๆ ถ่ายโอนลงไปได้อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลและส่วนราชการ
ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านนี้ก็ไม่ได้สนใจที่จะยกระดับขีดความสามารถของท้องถิ่น เพื่อให้สามารถทําหน้าที่
ดําเนินภารกิจถ่ายโอนต่างๆ ได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการถ่ายโอนบุคลากร รายได้หรือแม้กระทั่งการ
แก้ไขกฎหมาย เพื่อเพิ่มอํานาจให้ท้องถิ่นดําเนินงานได้อย่างแท้จริง ปล่อยให้ท้องถิ่นตัดสินใจกันเองว่าจะรับ
หรือไม่รับภารกิจอะไรไปดําเนินการ จะทําได้แค่ไหนก็สุดแล้วแต่ท้องถิ่นนั้นๆ และไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลและส่วน
ราชการจะต้องเข้าไปร่วมรับผิดชอบต่อความล้มเหลวของการถ่ายโอนภารกิจแต่อย่างใด วิธีการดังกล่าวทําให้
กระบวนการกระจายอํานาจขับเคลื่อนไม่ได้เต็มที่เท่าที่ควร วิธีการกระจายอํานาจที่ผิดพลาดอีกประการหนึ่งก็
คือ การใช้กุศโลบายให้มีการถ่ายโอนภารกิจและทรัพยากรจากส่วนราชการไปยังท้องถิ่นตามความสมัครใจ
(voluntary basis) ทั้งนี้ ก็เพื่อลดแรงต่อต้านทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี เมื่อการกระจาย
อํานาจไม่มีการบังคับ ไม่มีการผลักดัน ไม่มีการลงโทษ และไม่มีแรงจูงใจให้มีการถ่ายโอนภารกิจและทรัพยากร
จากรัฐบาลสู่ชุมชนท้องถิ่น การกระจายอํานาจจึงไม่ประสบผลสําเร็จมากเท่าที่ควร
และประชาชนในหลายพื้นที่ก็มิได้รับการดูแลปัญหา หรือคุณภาพชีวิตอย่างเต็มที่ เนื่องจากองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นขาดอํานาจดําเนินการและมิได้รับการถ่ายโอนภารกิจและทรัพยากรให้อย่างเพียงพอตาม
บทบัญญัติของกฎหมาย
74 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย