Page 196 - thaipaat_Stou_2563
P. 196
งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
จากการศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ าในสังคมจริง ๆ แล้ว มีมากมายหลายประเด็น แต่ในที่นี้พบว่า
ความเหลื่อมล้ าที่เด่นชัดและมีผลกระทบต่อสังคมอเมริกาเป็นอย่างมากและมีความสอดคล้องกับสิ่งที่แฝงอยู่ใน
ภาพยนตร์เรื่อง ซูโทเปีย มีด้วยกัน 5 ประเด็น ได้แก่ ความเหลื่อมล้ าทางเชื่อชาติ ความเหลื่อมล้ าในการ
ประกอบอาชีพ ความเหลื่อมล้ าทางเพศ ความเหลื่อมล้ าทางการศึกษา และการเลื่อนชั้นทางสังคม โดยมีที่มา
จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นไปตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่
แนวคิดเสรีนิยมใหม่เป็นแนวคิดทได้ซ่อนตัวเงียบ ๆ อยู่ภายใต้นโยบายสาธารณะมาอย่างยาวนาน โดย
ี่
ู
มีลักษณะเป็นการต่อต้านการรวมศนย์ทางเศรษฐกิจผ่านรัฐ และมีกลุ่มคนจ านวนหนึ่งในวงจ ากัดที่สนับสนุนซึ่ง
ส่วนใหญ่แล้วเป็นนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ และนักปรัชญา ที่เห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจใน
ทศวรรษ 1970 ไม่สามารถแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเสรีนิยมแบบดั้งเดิมได้ โดยหลักแล้ว แนวคิดเสรีนิยมใหม่
อธิบายถึงการลดบทบาทของภาครัฐลง และเพมบทบาทกับตลาดเสรีมากขึ้น โดยมีกลไกตลาดเป็นตัว
ิ่
ขับเคลื่อน แนวคิดเสรีนิยมใหม่ให้คุณค่ากับค่าจ้างแรงงานกับมูลค่าของสินค้าที่มาจากระบบการผลิต ท าให้
นโยบายสังคมและเศรษฐกิจ ถูกชี้น าด้วยมูลค่าของเงินและการลงทุนทางธุรกิจ และกลายเป็นบรรทัดฐานทาง
สังคมที่ท าให้การจ้างงานและการกระจายรายได้ด าเนินไปภายใต้การควบคุมของภาคเอกชน คนที่เก่ง ขยัน
และมีความสามารถจะได้รับผลประโยชน์ที่สูงกว่าคนที่ไม่เก่ง หรือกล่าวได้ว่าคนที่ท างานได้เร็วและมีคุณภาพ
จะถูกมองว่ามีประสิทธิภาพ ในทางหนึ่งจึงก่อให้เกิดการกระจุกตัวของคนรวยและคนจน นอกจากนี้เสรีนิยม
ใหม่ยังท าให้หลาย ๆ ประเทศไม่เว้นแต่สหรัฐอเมริกาเผชิญกับสถานการณ์ที่ คนรวยก าลังรวยขึ้น คนที่รวยที่สุด
ในบรรดาคนรวยก าลังรวยขึ้นกว่าเดิม คนจนก าลังจนลงและทวีจ านวนมากขึ้น และชนชั้นกลางก าลังร่อยหรอ
ลง อันน ามาสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ าในที่สุด อกทั้งแนวคิดเสรีนิยมใหม่ยังเป็นตัวเร่งเร้าที่ท าให้ความเหลื่อมล้ า
ี
ยังเกิดขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด และเป็นส่วนส าคัญที่ท าให้เกิดนโยบายต่าง ๆ ที่ปูทางไปสู่ความเหลื่อมล้ าที่มากขึ้น
ตลอดจนวิกฤตเศรษฐกิจที่หลากหลายยิ่งขึ้น
แนวคิดเสรีนิยมใหม่ให้ค ามั่นสัญญาว่า ถ้าระบบเศรษฐกิจถูกจัดการภายใต้แนวคิดเสรีนิยมใหม่ซึ่ง
อนุญาตให้ปัจเจกชนมีอิสระในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ มนุษย์จะสามารถบรรลุถึงชีวิตที่
สุขสบายกับเสรีภาพทางเศรษฐกิจและระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพได้ อย่างไรก็ดี ค ามั่นสัญญาดังกล่าวกลับ
ถูกท้าทายจากการเกิดขึ้นของวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินต่างๆ โดยวิกฤตที่เกิดขึ้นท าให้ประชาชนต้องประสบ
ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ จึงน าไปสู่การตั้งค าถามว่าหากมนุษย์กระท ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ
บนฐานของสัญชาตญาณดังกล่าว มิใช่ความเป็นเหตุเป็นผลตามที่ลัทธิเสรีนิยมใหม่กล่าวอาง ระเบียบโลกแบบ
้
เสรีนิยมใหม่จะยังคงเป็นระเบียบโลกที่เหมาะสมอยู่หรือไม่ เพราะสุดท้ายแล้วการลดกฎเกณฑ์การควบคุมทาง
ั
เศรษฐกิจกลับก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจอนรุนแรงได้ หนึ่งในนั้นคือการเกิดวิกฤตซับไพรม์ (Subprime
Mortgages) ในอเมริกาช่วงประมาณปี 2008
วิกฤติเริ่มปรากฏเด่นชัดในช่วงปี 2007 และ 2008 โดยสามารถสรุปสาเหตุหลัก ๆ ได้แก่ การ
ขยายตัวของตลาดบ้านและภาวะฟองสบู่แตก การเก็งก าไรในอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อความเสี่ยงสูง การแปลง
สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ การจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงของบริษัทจัดเรตติ้ง รวมไปถึง
นโยบายของรัฐบาลและนโยบายของธนาคารกลาง ในที่สุดแล้วเมื่อถึงคราวล้ม ก็จะล้มต่อกันเป็นโดมิโนใน
ิ
กลุ่มสถาบันการเงิน ความพงพนาศของระบบอสังหาริมทรัพย์สร้างความปั่นป่วนไปทั่วสหรัฐอเมริกาและทั่ว
ั
ื้
โลก เช่น การยึดบ้านเกิดขึ้นทั่วทุกพนที่ กองทุนที่ลงทุนในระบบนี้ขาดทุนอย่างย่อยยับ ตัวเลขการจ้างงาน
ลดลงเป็นจ านวนมาก ตลอดจนตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับผลกระทบบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งต้องล้มละลาย
เพราะเข้าไปเกี่ยวพนกับวงจรอุบาทว์ข้างต้น ท้ายที่สุดแล้วเราต่างปฏิเสธไม่ได้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ก็คือ
ั
ี
ผลพวงจากเสรีนิยมใหม่ทางเศรษฐกิจ และยังได้ท าให้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคมนั้น ๆ ทวีความเข้มข้นยิ่งไปอก
โดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ าที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะสาขาใด ๆ ก็ตาม
194