Page 195 - thaipaat_Stou_2563
P. 195

งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓



               ทะเยอทะยาน และการตัดสินใจด้วยตนเองที่รายล้อมไปด้วยการสนับสนุนของตัวละครต่างๆที่มีความท้าทาย
               ทั้งประเด็นการเหยียดเชื้อชาติและบทบาททางเพศ นอกจากนี้ยังน าประเด็นการบังคับใช้กฎหมายที่เกิดขึ้น
               จริงๆในสังคมมาถ่ายทอดโดยสร้างโลกภาพยนตร์ที่สะท้อนให้เห็นการควบคุมของแนวคิดการปกครองแบบเสรี
               นิยมใหม่ (neoliberal governmentality) ในสภาพแวดล้อมที่มีความตรึงเครียดและการต่อรองระหว่าง

               สถาบันที่บังคับใช้กฎหมายกับบุคคลที่ต้องหาพลังในการต่อรอง ในกรณีของเรื่อง ซูโทเปีย จะเห็นภาพกระต่าย
               ตัวเอกของเรื่องเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง ที่ต้องใช้ชีวิตในสังคมที่หลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม และ
               ห้อมล้อมด้วยเพศชายที่แข็งแกร่งและสูงใหญ่ ซึ่งเป็นการปะทะกันระหว่างบทบาทสตรีและบทบาทผู้ชาย
                                                                                       ุ
               รวมถึงการใช้อ านาจรัฐของสัตว์ที่เป็นผู้ล่าและผู้ถูกล่า เป็นผลผลิตของการเปลี่ยนแปลงอตสาหกรรมภาพยนตร์
               ที่มีความเป็นเสรีนิยมใหม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
                                                     ้
                       งานต่อมาเป็นบทความวิเคราะห์ที่อางองจากเว็บไซต์ประชาไท ว่าด้วยเรื่องจากปัญหาสังคมของ
                                                        ิ
                                                                            63
               อเมริกา สู่การด าเนินเรื่องบนภาพยนตร์โดยได้กล่าวถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในอเมริกาจากอดีตจนถึง
               ปัจจุบันทั้งปัญหาความรุนแรงที่กระท าต่อพลเมืองผิดสี หรือ แอฟริกันอเมริกันผ่านเหตุการณ์ส าคัญหลายกรณี
               อาทิ เช่น ของเทรวอน มาร์ติน เด็กหนุ่มผิวด าวัย 17 ปี ผู้ถูกปลิดชีวิตกลางถนนด้วยกระสุนจากพลเมืองผิว
               ขาวผู้มีประวัติเกลียดชังคนผิวด าทั้งๆ ที่เทรวอนไม่ได้ครอบครองอาวุธใดใด (2012) หรือแม้กระทั้ง เหตุการณ์
               การกราดยิงสังหารหมู่ในโบสถ์คนด าในเมืองชาร์ลตัน โดยเด็กหนุ่มผิวขาววัย 21 ปี ผู้เชื่อในความเหนือกว่า
               ของคนผิวขาว (2015) โดยน าเหตุการณ์เหล่านี้มาสะท้อนผ่านมุมมองของภาพยนตร์ โดยได้ยกประเด็น
                                                                                                     ื่
               ภาพยนตร์ที่เสียดสีสังคมที่ทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้อย่างเช่นภาพยนตร์เรื่อง ซูโทเปีย ขึ้นมาเพอเป็น
               แนวทางในการสะท้อนเชิงเสียดสีผ่านการตัวละครต่าง ซึ่งมีการยกประเด็นการเหยียดผิว และกล่าวถึง สังคม
               การเมือง เศรษฐกิจ ที่ถอดแบบมาจากประเทศสหรัฐอเมริกัน โดยว่าด้วยเรื่องของการสร้างธรรมชาติของรัฐ
               (State of nature) ซึ่งสะท้อนว่าความขัดแย้งของตัวละครที่เป็นสัตว์ทั้งหลายนั้นมีมากมาย จนถึงการเลือก
               กลุ่มและการตีตราให้สัตว์ประเภทต่างเป็นตัวแทนของความขัดแย้งด้านสีผิวที่ไม่มีวันสิ้นสุด
                       และงานสุดท้ายเป็นบทความในการวิเคราะห์ผ่านทฤษฏีทางสังคมวิทยาว่าด้วยซูโทเปียและชีวิตที่
                                                         64
               ปราศจากการลิ้มรสเสรีภาพ ในเมืองแห่งเสรีภาพ  โดยพยายามสะท้อนให้เห็นผ่านตัวแบบทางสังคมต่างๆ
               อาทิ ซูโทเปีย คือความหวังที่จะท าให้เกิดตัวแบบเชิงอดมคติ (ideal type) หรือการกล่าวถึงสัญลักษณ์ผ่านบท
                                                           ุ
               สนทนาของตัวละครภายในเรื่องสะท้อนถึงปัญหาทางสังคมอย่างไร และมีการสะท้อนถึงการเหยียดทั้งด้านชน

                                                                                                        ี
               ชั้นของสังคมและการเหยียดถิ่นที่ฐานบ้านเกิดของตัวละครซึ่งสะท้อนถึงผลที่เกิดขึ้นกับพลเมืองในชีวิตจริง อก
                                                                              ิ
               ทั้งยังมีการกล่าวถึงแนวคิดเสรีนิยมที่เกิดขึ้นภายในภาพยนตร์ที่สะท้อนถึงอสรภาพจอมปลอมเพราะถูกแปล
               เปลี่ยนไปตามค่านิยมของพลเมืองส่วนใหญ่มากกว่าสิทธิที่ควรเกิดขึ้นมาด้วยตนเองผ่านมุมมองของตัวละคร
               และสะท้อนถึงสังคมในปัจจุบัน

               วิธีด ำเนินกำรวิจัย

                       งานวิจัยนี้  ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากบทความทางวิชาการ  วารสาร
               หนังสือ รายงานจากสถาบันการศึกษานานาชาติ  ตลอดจนรวบรวมข้อมูลออนไลน์จากเว็บไซด์ที่น่าเชื่อถือ
               และใช้ภาพยนตร์เรื่องซูโทเปียเป็นกรณีศึกษา  โดยใช้แนวคิดเสรีนิยมใหม่เป็นกรอบการศึกษาและวิเคราะห์
               เป็นหลัก รวมถึงแนวคิดเรื่องความเหลื่อมล้ าทางสังคมร่วมด้วย
               ผลกำรวิจัย



               63  กนพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์, “Zootopia และ Getout : มองการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ของสหัรัฐผ่านแผ่นฟิมล์”, 2561, ประชาไท,
               https://prachatai.com/journal/2017/04/71042(23 ตุลาคม 2562).
               64  ปรีชภักดิ์ ทีคาสุข “ทฤศฏีสังคมวิทยาว่าด้วย Zootopia และชีวิตที่ปราศจากการลิ้มรสเสริภาพ ในเมืองแห่งเสรีภาพ” , 2559,ประชาไท,
               https://prachatai.com/journal/2016/03/64777(23 ตุลาคม 2562).
                                                                                                     193
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200