Page 203 - thaipaat_Stou_2563
P. 203
งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สุจริต เที่ยงธรรมและมีส่วนในการป้องกันหรือแก้ไขวิกฤติของ
ประเทศตามความจ าเป็นและความเหมาะสม การรับรอง ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชน ชาว
ไทยให้ชัดเจนและครอบคลุมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยถือว่าการมีสิทธิเสรีภาพเป็นหลักการจ ากัดตัดสิทธิ
ื่
เสรีภาพเป็นข้อยกเว้น แต่การใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เพอคุ้มครองส่วนรวม การจะ
ด าเนินการตามแนวทางแห่งรัฐธรรมนูญนี้ให้ลุล่วงไปได้ จ าต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประชาชนทุกภาค
ส่วนกับหน่วยงานทั้งหลายของรัฐตามแนวทางประชารัฐภายใต้กฎเกณฑ์ตามหลักการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยและประเพณีการปกครอง ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และลักษณะของสังคมไทย หลักความ
ั
ั
สุจริต หลักสิทธิมนุษยชน และหลักธรรมาภิบาล อนท าให้สามารถขับเคลื่อนประเทศให้พฒนาไปข้างหน้าได้
อย่างเป็นขั้นตอนจนเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 นั้น มีการกล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ในหมวดที่
3 มาตรา 25 โดยกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งนอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะ
ื่
ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่ไม่ได้ห้ามหรือจ ากัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอน บุคคลย่อมมีสิทธิและ
เสรีภาพที่จะท าการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญตามเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้น
ั
ั
ไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอนตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อนดีของ
ประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90) และมาตรา 27 ที่ก าหนดว่าบุคคลย่อมเสมอภาค
กันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่
เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นก าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพการ สภาพ
ิ
ทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม
ั
หรือความคิดเห็นทางการเมืองอนไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอนใด จะกระท ามิได้ รวมไปถึง
ื่
มาตรา 28 ที่ก าหนดว่าบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การจับกุมและการคุมขังบุคคลจะ
กระท ามิได้ เว้นแต่มีค าสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ การทรมาน ทารุณกรรม
หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมจะกระท ามิได้
จากตัวอย่างของบทบัญญัติที่ยกมา จะเห็นได้ว่า กฎหมายมีเจตนาที่จะรับรองและคุ้มครอง
ผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคล (Individual) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพส่วน
บุคคลให้มีความทัดเทียมกันภายใต้กรอบของกฎหมาย ซึ่งสิทธินี้ย่อมมีเสมอกันตลอดทั้งราชอาณาจักรไทย ใน
กรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิของบุคคลไม่ว่าเกิดขึ้นจากการกระท าของใคร แม้แต่ในเรื่องชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง
ั
ทรัพย์สิน หรือสิทธิอนเกี่ยวกับทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ผู้ที่กระท าละเมิดก็ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมาย
ก าหนดไว้โดยในส่วนนี้ผู้เสียหายจ าเป็นจะต้องเป็นผู้ด าเนินการเพอเรียกร้องสิทธิของตนให้กลับคืนมา โดยผ่าน
ื่
องค์กรของรัฐภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายวิธีพจารณาความอาญา ซึ่งหน่วยงานของรัฐหน่วยงานแรกที่
ิ
ผู้เสียหายจะต้องน าคดีของตนเข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรม ก็คือ ต ารวจ โดยเริ่มตั้งแต่การเข้าแจ้งความ
ร้องทุกข์ กล่าวโทษ การสืบสวนสอบสวน การจับกุมผู้กระท าความผิด การรวบรวมพยานหลักฐาน จนกระทั่ง
ื่
ิ
ถึงการน าตัวผู้ต้องหาฟองร้องต่อศาลเพอพจารณาลงโทษผู้กระท าผิด ดังนั้นเมื่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ
้
พทธศักราช2560 ได้ประกาศ อนอาจจะท าให้เกิดข้อขัดข้อง หรืออปสรรคในการปฏิบัติงานของพนักงาน
ุ
ั
ุ
สอบสวนได้
จะเห็นได้ว่า มาตรการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีผลต่อการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ
หน้าที่ของพนักงานสอบสวนเพื่อให้สอดรับกับกฎหมายใหม่ ซึ่งพนักงานสอบสวนเองจ าเป็นต้องท าความเข้าใจ
ื่
อย่างถ่องแท้ เพอจักได้ด าเนินการให้สอดรับกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ที่ผ่านมายังไม่ได้มีการศึกษา
อย่างจริงจังเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จึงใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อที่จะค้นหาและท าความ
201