Page 71 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 71

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    รุนแรงได้ ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลง เราไม่อยากเปลี่ยนแปลงแบบแผนการปฏิบัติ หรือแบบแผนความคิดก็จะ

                    นําไปสู่ความขัดแย้งทางสังคมได้ไม่ยาก
                                เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ก็มีคนที่ชาญฉลาดที่อยู่ในสังคม อยู่ในชุมชนหรืออยู่ในองค์กร

                    ต่างๆ ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของตัวบริบท แล้วเห็นว่าตัวแบบแผนเดิม วิถีปฏิบัติแบบเดิมใช้
                    ไม่ได้ เขาก็พยายามนําเสนอแบบแผนใหม่ขึ้นมาๆ ไปแทน แบบแผนใหม่เมื่อใช้ไปแล้ว แรกๆ ก็อาจจะมีคน
                    ต่อต้านแต่เมื่อใดมีการพิสูจน์ว่าเป็นแบบแผนที่ดี มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลแล้วทําให้คนมีความสุข พึง
                    พอใจแบบแผนใหม่ก็จะได้รับการยอมรับ แล้วจากนั้นนําไปสู่การปฏิบัติจนพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิผลจริง ก็จะ

                    มีการขยายและปฏิบัติซ้ําจนกลายเป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติ และกลายเป็น “ปกติใหม่” ขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น
                    เรื่องการบริการรัฐกิจ คือสมัยก่อนหน่วยงานราชการ บริหารแบบรวมศูนย์อํานาจ ข้าราชการเป็นใหญ่ ใครจบ
                    รัฐศาสตร์ จบรัฐประศาสนศาสตร์ก็ไปเป็นเจ้าคนนายคน ชาวบ้านจะพบก็ยาก ชาวบ้านมาหาสักทีก็ต้องรอที่ว่า
                    การอําเภอ เป็นวันดีไม่ดีก็ไม่ได้พบ อันนี้แบบแผนเดิม คือราชการเป็นศูนย์กลางบริหารโดยตัวข้าราชการเอง

                    ประชาชนไม่เกี่ยว ประชาชนมีหน้าที่รับคําสั่งและปฏิบัติตามที่สั่ง ต่อมามีการเสนอความคิดว่าการบริหารแบบ
                    สั่งการมันไม่เหมาะแล้ว ก็มีการนําเสนอแนวคิดว่า “ต้องใช้การมีส่วนร่วม” มาเป็นแบบแผนการบริหาร
                                แบบแผนการจัดการ ก็มีการเสนอตั้งแต่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย

                    ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรต่างๆ ของภาครัฐ เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว แต่การมีส่วนร่วมในตอน
                    แรก เป็นเรื่องใหม่ ข้าราชการเมื่อก่อนสั่งอย่างเดียว ประชาชนฟัง คราวนี้ต้องมาฟังประชาชนแล้วก็ต้องทํา
                    ร่วมกับประชาชน แรกๆ ก็ยังอึดอัด คับข้องใจว่าให้ประชาชนมีส่วนร่วม ประชาชนจะมีความรู้หรือไม่

                    ประชาชนไม่มีการศึกษาและจะมีส่วนร่วมได้ยังไงก็ต้องตอบคําถามามากมาย แต่ต่อๆ มาก็พบว่า บริบททาง
                    สังคม คือประชาชนมีการศึกษามากขึ้น มีความรู้มากขึ้น คนจบปริญญาตรีมากขึ้น รู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้นจะ
                    บอกว่า “ประชาชนโง่ก็คงไม่ได้แล้ว” ไม่ใช่ความจริงแล้ว เพราะฉะนั้นการมีส่วนร่วมมันก็เลยกลายมาเป็นแบบ
                    แผนหลักอันหนึ่งของหน่วยงานราชการ เกือบทุกหน่วยงาน ที่จะต้องเขียนการทํางานโดยการมีส่วนร่วมเข้าไป

                    จนกระทั่งกลายมาเป็นความเป็นปกติในปัจจุบัน แต่แน่นอนว่าอาจจะมีบางหน่วยงาน ที่อาจจะใช้การมีส่วน
                    ร่วมแบปลอมๆ การมีส่วนร่วมแบบไม่แท้จริงอยู่มากมาย อย่างไรก็ตาม ก็ต้องพูดว่าใช้การมีส่วนร่วมในส่วนของ
                    เนื้อหาสาระ และกระบวนการเป็นอย่างไรนั้น มันขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงาน

                                เรื่องการสื่อสาร สมาร์ทโฟน เราไม่ต้องพูดถึงเพราะว่าเกิดขึ้นแล้ว แต่ว่าเรื่องเทคโนโลยี
                    สื่อสาร  มีมากกว่านั้น ปัจจุบันมีการเติบโตเราก็จะเห็นได้ว่า มีการนําสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการบริหาร
                    ภายในองค์กร เขาก็จะมีการสั่งงานด้วย Line แล้วตอนนี้ มี Line ขององค์กร ผู้นําขององค์กรก็จะสั่งงานผ่าน
                    Line ไม่ต้องผ่านกระดาษ แต่การสั่งงานผ่านกระดาษก็ยังเป็นปกติ ปรากฏว่าตอนนี้กลายเป็นสั่งหลักแทน

                    กระดาษแบบเดิม ความเป็นปกติเดิมก็ยังคงมีอยู่ ความเป็นปกติใหม่ออนไลน์ก็ยังมีอยู่ แต่ว่าในอนาคตโอกาสที่
                    จะยกเลิกการใช้กระดาษก็จะมีสูงๆ มากขึ้น แล้วต่อไปอาจจะใช้เป็นความปกติใหม่ก็คือใช้เอกสารออนไลน์
                    หรือว่าการสั่งงานออนไลน์แล้วมีการสร้างการปฏิบัติ ที่เกิดปฏิสัมพันธ์เป็น 2 ทางกับประชาชน เมื่อก่อนเวลาที่

                    ประชาชนไปร้องเรียนก็ต้องไปที่หน่วยงานหรือส่งจดหมายไป ปัจจุบันร้องเรียนอะไรก็ส่งทางไลน์ หรือทางเฟส
                    บุคได้เลย อันนั้นก็เป็นความเป็นปกติใหม่ แล้วเราก็จะเห็นได้ว่า อบต. ไหนมีปัญหาเราก็ถ่ายภาพ ตัวอย่างเช่น
                    มีอยู่ช่วงหนึ่งถ้าพวกเราไปหาในอินเทอร์เน็ตก็จะเจอการทําถนนขรุขระไม่ดี มีชาวบ้านก็คิดวิธีการร้องเรียนให้




                                                        62                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76