Page 72 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 72
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
ได้ผล เขาก็ไปนุ่งกระโจมอกแล้วก็ไปอาบน้ํากลางถนน แล้วก็ถ่ายภาพมันก็เลยไปกระตุ้นให้กับพวก อบต.
ต่างๆ ลงมาแก้ปัญหาอันนี้ก็คือการปฏิสัมพันธ์ 2 ทาง
การเกิด Big Data ขึ้นมามากมายต่อไปเราก็จะใช้ Big Data ตัวอย่างเช่น การแจกเงินครั้งนี้
ที่รัฐบาลแจก เขาก็พยายามใช้ Big Data แต่อันนี้พยายามกันมาก เพราะความเป็นปกติเดิมของหน่วยงาน
ราชการ หรือเวลาที่เขาจะทําข้อมูลอะไร ทุกหน่วยงานอยากมีข้อมูลของหน่วยงานตัวเอง แต่ละคนก็จะข้อมูล
ของตัวเอง บางทีก็เรื่องซ้ําซ้อนกัน อันนี้ก็เป็นเรื่องความปกติเดิมของหน่วยงาน ปรากฏว่าหลังจาก Covid นี้
เราก็จะเห็นว่าความเป็นปกติเดิมนั้นเป็นปัญหา เพราะจะเจอรายชื่อซ้ําซ้อนในการแจกเงิน คนที่เป็นข้าราชการ
กับผู้ใช้แรงงาน ก็เลยต้องมาคิดกันใหม่แล้วทําอย่างจริงจังว่า จะต้องมี Big Data ในแต่ละเรื่อง จะต้องมี
ฐานข้อมูล หลักฐานข้อมูลเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งสามารถที่จะใช้ในการกําหนดนโยบาย หรือการนํานโยบาย
ไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก็มีการใช้ที่เราเรียกว่า “Evidence – Based Policy and
Administration” คือ “การใช้หลักฐาน ใช้ข้อมูลในการกําหนดนโยบายและการบริหาร” มากขึ้น เมื่อมี Big
Data แล้วเราก็ใช้อันนี้ในการกําหนดนโยบาย ก็จะกลายเป็นความเป็นปกติใหม่ขึ้นมา
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร มีผู้สูงอายุมากขึ้น รุ่นลูกๆ หลานๆ ก็จะมีน้อยลง
เพราะฉะนั้นเวลากําหนดนโยบาย เวลาพวกเราไปทํางาน ถ้าไปทํางานที่หน่วยงานของรัฐก็เตรียมเขียน
โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ได้เลย ถ้าจะไปทํางานที่ อบต. หรือทํางานที่ว่าการอําเภอ และสิ่งหนึ่งที่เราจะเห็น
ในความคิดสร้างสรรค์ ปกติโรงเรียนเราใช้กับเด็ก แต่พอมันมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เราก็มี
โรงเรียนผู้สูงอายุขึ้นมา ตัวอย่างเช่น จังหวัดเชียงรายเป็นต้นแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ หลังจากนั้นพอโรงเรียน
ผู้สูงอายุเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ดี แทนที่ผู้สูงอายุจะอยู่บ้านเหงาๆ มีการสอนธรรมะบ้าง สอนการรักษาสุขภาพบ้าง
ต่อมาโครงการผู้สูงอายุกลายมาเป็นปกติใหม่ของโครงการฯ อีกโครงการหนึ่งของหน่วยงานราชการว่า หลายๆ
จังหวัดก็มีโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่เป็นการแก้ปัญหาความโดดเดี่ยวของผู้สูงอายุ ที่นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่
ผู้สูงอายุเท่าที่ได้ยินมาว่าหลายท่านไม่อยากอยู่กับผู้สูงอายุด้วยกันแต่อยากอยู่กับเด็กๆ
การเปลี่ยนแปลงความคิดแบบเพศสภาพ นโยบายความเท่าเทียมทางเพศ นโยบาย
ครอบครัว มีการใช้คํานําหน้าผู้หญิง ความเป็นปกติเดิมก็คือว่า “ถ้าผู้หญิงแต่งงานก็ต้องใช้นามสกุลตามสามี”
ต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นนาง นั่นเป็นความเป็นปกติเดิม พอเกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกับความคิดเรื่องเพศ
สภาพขึ้นมา ก็เกิดความเป็นปกติใหม่ ตอนนี้ผู้หญิงแต่งงานใช้ “นางสาว” เวลาที่เราดูก็ไม่รู้ว่าผู้หญิงที่ใช้คํา
นําหน้า “นางสาว” แต่งงานหรือยัง มีลูกหรือยัง ฉะนั้นปัจจุบันนางสาวก็มีลูกได้ หรือนามสกุลเราเลือกใช้
นามสกุลอะไรก็ได้ อันนี้เป็นความเป็นปกติใหม่ ที่เราเปลี่ยนลักษณะของครอบครัวขึ้นมา หรือการแต่งงานของ
เพศเดียวกัน เมื่อก่อนเป็นสิ่งที่ผิดปกติมาก แต่ปัจจุบันหลายประเทศกลายเป็นความเป็นปกติใหม่ขึ้นมาแล้ว ใน
สังคมไทยก็เริ่มมีกฎหมายความเป็นปกติใหม่ แล้วพอเราแต่งงานกับเพศเดียวกัน ก็จะส่งผลกระทบต่อการ
บริหาร ตัวอย่างเช่น เวลาไปจดทะเบียนจะจดอย่างไร แล้วก็เรื่องของการทํางานถือว่าเป็นครอบครัวได้หรือไม่
ก็จะมีการเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ๆ เกิดขึ้นมา
การเกิดขึ้นของประชาสังคม ในยุคปัจจุบัน ทําให้มีการมีส่วนร่วมมากขึ้น แล้วก็เกิดการ
ทํางานของหน่วยงานภาครัฐ ที่เราเรียกว่าเป็น “Network Governance” การทํางานแบบเครือข่ายในปัจจุบัน
ก็กลายมาเป็นความเป็นปกติใหม่ ฉะนั้นเราก็สังเกตเห็นว่า ถ้าไปหน่วยงานภาครัฐใดก็ตาม Concept เรื่องการ
ทํางานของเครือข่าย หรือว่าโครงการทํางานแบบเครือข่าย ก็จะเป็น Concept หลักที่เขาใช้ทําในปัจจุบัน โดย
63 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย