Page 70 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 70

PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020

                    ตั้งเป้าหมายไว้เศรษฐกิจติดลบดังตัวเลขที่ ดร.สมเกียรติฯ ได้ให้ความเห็น โดยอัตโนมัติว่าเศรษฐกิจติดลบทุก

                    ประเทศ D-Growth


                                ทําให้เราต้องมาทบทวนว่าการพัฒนาประเทศที่เน้นการเติบโต นั้นดีจริงหรือไม่ หรือว่าเรา
                    จะต้องคิดถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบจริงจังเสียที หลังจากที่พูดกันไปเรื่อยแต่ไม่ได้เอาไปเป็นแบบ
                    แผนการกระทํา

                                เศรษฐกิจพอเพียงเป็น New Normal ในการพูดทุกคนก็พูดปกติ แต่ยังเป็นสิ่งที่ยังไร้
                    เสถียรภาพเชิงปฏิบัติ ก็คือไม่มีการนําไปใช้จริง เพราะฉะนั้นโอกาสนี้เราก็ถือโอกาสเอาไปใช้จริง แล้วก็ทําให้
                    เป็น New Normal แล้วก็ไม่ต้องเติบโตทางเศรษฐกิจมากก็ได้ อันนี้เป็นการปรับทิศทาง แล้วพวกเราก็จะเห็น
                    ว่าช่วงจังหวะที่เขามีการ Lockdown 2 – 3 เดือนทั่วโลก ก็คือลด Growth สําหรับคนอยู่ กทม. เป็นความรู้สึก

                    ที่ค่อนข้างจะดีเพราะรถไม่ติด ควันพิษก็ไม่มี เราก็เห็นว่ามีการหวนกลับมาของสิ่งแวดล้อม เราเห็นผลดีของการ
                    ลดการเติบโต หรือ D-Growth อย่างชัดเจนต่อการใช้ชีวิต ต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและต่อความยั่งยืนของ
                    โลก

                                คราวนี้หลังจากผ่าน Covid การพัฒนาที่มุ่งแต่ตัวเลขสูงๆ อาจจะต้องมีการทบทวนก็ได้
                    อาจจะเติบโตเพียงพอเหมาะพอควร ฉะนั้นพวกเราเห็นอย่างนี้แล้ว คําถามที่เราต้องถามอยู่เสมอคือว่า “สิ่งที่
                    เกิดขึ้นเป็นความเป็นปกติใหม่ที่ยืนยาว หรือเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวในบริบทที่ผิดปกติ” ต้องแยกแยะตรงนี้

                    ออกมาให้ได้ แล้วเราก็จะเข้าใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความผิดปกติ พอความผิดปกติหายไปทุกอย่างก็
                    หวนคืนสู่ความเป็นปกติเดิม ไม่ได้เกิดความเป็นปกติใหม่แต่อย่างใด
                                ตัวบริบทใหม่ก็คือความเปลี่ยนแปลง บริบทใหม่บางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม

                    สิ่งแวดล้อม หรือเกี่ยวกับทางการเมืองก็ตาม อันนี้ถือเป็น “บริบท” ใหม่ ฉะนั้นบริบทใหม่ คือ สิ่งแวดล้อมใหม่
                    เราก็ต้องดูว่าสิ่งแวดล้อมใหม่มีความยืนยาวไหม ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่มีความยืนยาว ความปกติใหม่เกิดขึ้นก็จะมี
                    เสถียรภาพ แต่หากว่าสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเร็วก็จะมีความปกติใหม่ๆ และใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเรา
                    มองว่าสิ่งนี้เป็นความปกติ แต่เป็นสิ่งที่เกิดมาเพื่อตอบสนองสถานการณ์เท่านั้นเอง แล้วสิ่งแวดล้อมอะไรที่มี

                    การเปลี่ยนแปลงและก็มีความคงทนถาวร ความคงทนถาวร ไม่ใช่หมายความว่าตลอดกาล แต่ว่ามีความยั่งยืน
                    ระยะหนึ่ง ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนอันนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่มีความยั่งยืน
                    ระยะหนึ่งนับ 10 ปี ขึ้นไป เพราะฉะนั้นตัวสมาร์ทโฟนก่อให้เกิดความปกติใหม่ในเชิงพฤติกรรมขึ้นมาอย่าง
                    หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจากระบบอะนาล็อก เป็นสมาร์ทโฟนแล้วก็ยืนยาว

                    ฉะนั้นความเป็นปกติใหม่ก็เกิดขึ้นมา
                                ความเป็นปกติใหม่เกิดขึ้นอย่างไร การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี สังคม

                    พวกนี้ เมื่อสังคมเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยน การเมืองเปลี่ยนจากบรรทัดฐานเดิมที่เราเคยไปได้ดี แบบ
                    แผนปฏิบัติดั้งเดิมที่เราเคยใช้ได้ดี ระเบียบเดิมที่เราเคยใช้ได้ดี กฎหมายเดิมที่เราเคยใช้ได้ดี นโยบายเดิมที่เรา
                    เคยใช้ได้ดี ก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ต่อไป เพราะฉะนั้นถ้ายังยืนกรานที่จะทําแบบเดิมๆ ใช้พฤติกรรม
                    แบบเดิมๆ วิกฤตมันก็จะเกิดขึ้นมา ถ้ายังคิดแบบเดิมภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปวิกฤตก็จะเกิด แล้ววิกฤต

                    เกิดในองค์กรเล็กๆ ก็คงไม่เป็นไร อย่างมากถ้าเป็นองค์กรธุรกิจก็ล้มละลายไป แต่ถ้าองค์กรภาครัฐก็อาจจะไร้
                    ประสิทธิภาพ แต่หากเป็นทางสังคมในภาพรวม ถ้าเกิดวิกฤตสังคมขึ้นมา จะทําให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมที่

                                                        61                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75