Page 74 - Microsoft Word - PAAT Journal V4-2020
P. 74
PAAT Journal Vol. 2, No. 4, December 2020
อุดมการณ์ทางการเมือง แล้วอุดมการณ์ทางกาเมืองมีรากฐานนิยมทางศาสนา พวกนิเวศน์นิยมและพหุ
วัฒนธรรม พวกสตรีนิยม อันนี้เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใหม่เกิดขึ้น ฉะนั้นอุดมการณ์ทางการเมืองใหม่
เกิดขึ้น ก็จะมีพรรคกรีน ของเยอรมันนี ก็จะไปร่วมรัฐบาล
ส่วนยุโรปมีพรรคการเมืองหลายพรรค แล้วรัฐบาลก็เป็นรัฐบาลแบบผสม แต่เขาก็อยู่กันได้ ไม่ตี
กัน ต่างอุดมการณ์ตีกันแบบบ้านเรา คุยกันได้เจรจากันได้ภายใต้หลักคิดที่มีเหตุผล การเจรจาต่อรองกันแล้ว
เป็นรัฐบาลผสมของอุดมการณ์ที่หลากหลาย สิ่งหนึ่งที่อาจจะเป็นแบบแผนร่วมกันคือ เรื่องของนิเวศน์หรือ
สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในยุโรป เขาถือว่าเป็นอุดมการณ์หลักอย่างหนึ่ง และเป็นนโยบายหลักอย่างหนึ่งของ
มนุษย์ชาติ ที่จะต้องรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไป ฉะนั้นเขาจะอยู่แบบไม่ทําลายล้าง หรือวัฒนธรรมนิยม บางที่
เราเรียกว่าเป็น พหุวัฒนธรรม คือความหลากหลายทางเชื้อชาติ, ความหลากหลายทางเพศ, ความหลากหลาย
ทางศาสนา ได้รับการยอมรับไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าต่างๆ หรือคนชาวเขา เมื่อก่อนคนเมืองก็มองพวกเขาด้วย
ทัศนคติที่ไม่ดี แต่ปัจจุบันความคิดของคนเมืองก็เปลี่ยนไป มองคนบนดอยในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียมกันนี่คือ
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
หลังจากที่เราเห็นว่ามีบริบทอะไรที่เกิดขึ้นไปแล้ว ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วและส่งผลกระทบ
อะไรบ้างต่อรัฐประศาสนศาสตร์ ทั้งในแง่นโยบาย เรามาพิจารณาความเป็นจริงที่ยังคงอยู่ ที่เป็นแบบเดิมๆ
ในสังคมไทยที่ดํารงอยู่เกี่ยวกับการกําหนดนโยบายว่า ยังมีความเป็นปกติแบบนั้นอยู่ โดยปกติการกําหนด
นโยบาย เป็นบทบาทของพรรคการเมือง ที่เป็นผู้กําหนดนโยบายขึ้นมา ความเป็นปกติเดิมที่เราเห็น การเมือง
ในสังคมไทยถือว่านโยบายจํานวนมากถูกกําหนดด้วยวิสัยทัศน์ที่แคบสั้น ไม่ได้ถูกกําหนดด้วยวิสัยทัศน์ที่
กว้างไกล หรือยาวไกล อาศัยความสะดวก เน้นประชานิยมเพื่อขอคะแนน เน้นผลประโยชน์เฉพาะหน้า
เฉพาะตัว นโยบายไหนคิดว่าได้คะแนนก็ผลิตขึ้นมา แล้วพอเป็นรัฐบาลก็ทําบ้างไม่ทําบ้าง ตัวอย่างเช่น นโยบาย
มารดาประชารัฐ ไม่รู้ว่าทําหรือยัง ได้เงินกันหรือยัง หรือว่าค่าแรงได้กี่บาท ได้เงินกันหรือยัง หรือนโยบาย
กัญชาบ้านละ 6 ต้น ปลูกกันหรือยัง ยังไม่ได้ปลูกนะ เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นความปกติเดิมที่เกิดขึ้นแล้วเราพบ
ได้ แล้วต่อไปมีการเลือกตั้งท้องถิ่น พวกเขาก็จะมีบทบาทการเข้าไปดูแลผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่นว่า เขาผลิต
นโยบายอย่างไร เราก็เข้าไปตั้งคําถามกับการออกนโยบายของผู้สมัครระดับท้องถิ่น ซึ่งคงจะมีการเลือกตั้ง
ท้องถิ่น ไม่ปลายปีนี้ก็คงเป็นต้นปีหน้า ถ้าไม่เกิดความรุนแรงทางสังคมและความรุนแรงทางการเมืองเสียก่อน
ส่วนรัฐบาลในการกําหนดนโยบาย ถ้าเราเห็นรัฐบาลในการกําหนดนโยบาย เราจะเห็นว่า
พรรคที่จัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคจะเชิญแกนนําพรรคการเมืองต่างๆ มา ก็จะนําเอานโยบายของพรรคการเมืองที่
เข้ามาแล้วก็เขียนขยํารวมเป็นนโยบายรัฐบาลว่า ฉันเป็นรัฐบาลก็ต้องมีนโยบายของพรรคฉัน ปรากฏเป็น
นโยบายรัฐบาลด้วย ถ้าไม่มีก็ไม่ยอม แต่ละคนก็ต่อรองว่าจะเอานโยบายของพรรคตนเองเข้าไป โดยไม่ได้
คํานึงถึงลําดับความสําคัญของนโยบายมากเท่าที่ควร เพราะที่สําคัญคือรัฐบาลจะต้องมีนโยบายที่เราเรียกว่า
“นโยบายเชิงยุทธศาสตร์” ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาประเทศว่าใน 4 ปีนี้ เราจะมีนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ใดบ้าง
ที่เป็นนโยบายหลัก ซึ่งนโยบายเชิงยุทธศาสตร์นั้นอาจจะมีเพียงแค่ 2 – 3 นโยบายเท่านั้น แล้วพุ่งตรงไปใน
แนวทางแก้ปัญหาหลัก แต่ว่าในปัจจุบันที่เราเห็น คือนโยบายเต็มไปหมดเลย ในแต่ละพรรคก็จะกระจัด
กระจาย และขาดพลังในการแก้ไขปัญหา
ส่วนพลังในการแก้ไขปัญหา มีองค์กรหนึ่งตามกฎหมายเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบาย” มี
หลายคณะกรรมการฯ เพื่อทําประเด็นที่อาจจะต้องไปบูรณาการร่วมกันของหลายองค์กรภาครัฐ ตัวอย่างเช่น
65 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย