Page 69 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 69
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
3. P=person พัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล: องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใน
3 จังหวัดที่เป็นเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ได้สร้างระบบการพัฒนาบุคลากร รองรับการพัฒนาขับเคลื่อนการ
พัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยการ สร้างระบบการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเองของบุคลากร
การพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรใน ทุกตําแหน่งเพื่อรองรับความท้าทายเชิงกลยุทธ์และการบรรลุผล
สําเร็จตามแผนปฏิบัติงาน ทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการคิดค้น
สร้างสรรค์นวัตกรรม โดยกําหนดให้เป็น นโยบายสําคัญ ในการให้บุคลากรในทุกหน่วยงานมีสมรรถนะในการ
สร้างสรรค์นวัตกรรมการทํางานตามหน้าที่ ที่รับผิดชอบ การพัฒนาขีดความสามารถแก่บุคลากรให้มีศักยภาพ
ในการใช้ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยี สารสนเทศ การจัดการสมัยใหม่ และวัฒนธรรมสากลเพื่อให้สามารถ
ปรับตัวได้ทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมกําหนดให้เป็นหลักเกณฑ์ของการพิจารณาความดี ความชอบ
ค่าตอบแทน การพัฒนาระบบ e-Learning เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากรในแต่ละระดับ พร้อมทั้งจัด
ให้มีการเรียนรู้ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล หน่วยงาน และการเรียนรู้เป็นกลุ่มบุคคล
จากแนวคิดที่ผู้เขียนเสนอไปจึงสรุปได้ดังนี้ 2D2IP = EEC Model ผู้เขียนได้นําการบริหารจัดการ
ภาครัฐแนวใหม่ (NPM) โดยได้ใช้ตัวแบบแนวคิดเสรีนิยมแนวใหม่ และแนวคิดการบริหารจัดการนิยม มา
วิเคราะห์และเสนอแนะโมเดลที่จะเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้นําโมเดลไปปฏิบัติเพื่อให้
บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการปรับตัวเพื่อสอดรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
(EEC)ที่จะเกิดขึ้นในภาคตะวันออก 3 จังหวัดนี้ไห้สําเร็จและดียิ่งขึ้น
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการEECกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้เขียนจะใช้แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ทางการเมืองในการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นของ
โครงการ EEC ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยใช้ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ ได้มีลักษณะดังนี้ (แนวคิดเสรีนิยมใหม่
ประชาไท,2564) ทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ประกอบด้วยนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง เช่น การโอน
กิจการของรัฐเป็นของเอกชน การรัดเข็มขัดทางการเงิน (fiscal austerity) การลดข้อบังคับ (deregulation)
การค้าเสรีและการลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในเศรษฐกิจ จากโครงการ EEC จะเห็นได้
ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นตัวขับเคลื่อน ให้โครงการEEC ดําเนินเดินหน้าไปอย่างต่อเนื่องได้ในมุมมอง
ของผู้เขียนเห็นว่าโครงการ EEC มีปฏิสัมพันธ์ทีเกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าวในทางตรงคือเมื่อมีการเปิดประตู
สู่เอเชียด้วยโครงการ EEC แล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจําเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวด้วยรูปแบบขององค์กร
ให้มีความทันสมัย มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ใช้รัฐน้อยลง มีการนําเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับองค์กรมากขึ้น
ปรับองค์กรให้มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบของบริษัทมากขึ้นซึ่งมีลักษณะของการนําเอาทฤษฎีเสรีนิยมใหม่
ในทางเศรษฐศาสตร์การเมืองมาปรับใช้มากขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีด้านดีและด้านเสีย ด้านดี คือ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีความทันสมัยมากขึ้น ลดภาระรายจ่ายของภาครัฐได้มากขึ้น เป็นการพัฒนาองค์กร
ปกครองท้องถิ่นให้มีความเป็นสากลมากขึ้น และมีการพัฒนาบุคลากรในภาครัฐให้มีคุณภาพมากขึ้นอีกด้วย ใน
ส่วนของข้อเสียที่เกิดขึ้นจากโครงการ EEC สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาทิ เช่น บุคลากรในองค์กรอาจยัง
ไม่พร้อมและยังปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจทําให้เกิดความเสียหายต่อระบบภาครัฐเดิมได้
และ นโยบายของโครงการ EEC ไม่คงที่เนื่องจากมีปัญหาและปัจจัยหลายอย่างเข้ามาทําให้นโยบายอาจมีการ
เปลี่ยนแปลงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการประสานงานและการสั่งงานภายในองค์กรได้
สรุป
โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เป็นโครงการแห่งชาติที่จุดประกายความหวัง
ความเปลี่ยนแปลง ที่นํามาซึ่งโอกาสมากมาย ที่จะนําผลประโยชน์มาให้คนไทย และประเทศไทยเป็นจุดหมาย
ปลายทางที่คนไทยทุกคนมีร่วมกัน เพื่อให้พ้นกับดักรายได้ปานกลาง นําประเทศชาติไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ที่
62 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย