Page 70 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 70

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    ยั่งยืน เป็นโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยในระยะแรก เป็นการ

                    ยกระดับพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยองให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนํา เป็นประตูเชื่อมโยง
                    เอเชีย (Gateway to Asia) ด้วยการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อน
                    เศรษฐกิจเพื่อรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อ
                    สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดให้
                    เชื่อมโยงกับโครงการของรัฐบาล เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศซึ่งในการขับเคลื่อน
                    เพื่อที่จะผลักดันให้โครงการ EEC ประสบความสําเร็จได้นั้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วน
                    ท้องถิ่นเพื่อทําให้โครงการนี้สามารถดําเนินต่อไปได้และเกิดประโยชน์สูงสุด แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐ

                    แนวใหม่ (NPM) เมื่อนํามาใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เขียนได้เสนอโมเดล 2D2IP = EEC Model โดย
                    ได้นําเอาแนวคิดใช้ตัวแบบแนวคิดเสรีนิยมแนวใหม่ ของ (NPM) และแนวคิดการบริหารจัดการนิยมของ
                    (NPM) มาบูรณาการกัน ได้เป็นโมเดลดังกล่าวขึ้นเพื่อเสนอให้เห็นถึงบทบาทของภาครัฐคือองค์กรปกครองส่วน
                    ท้องถิ่นที่ควรจะปรับตัวต่อโครงการ EEC เพื่อให้โครงการดําเนินไปได้ดีมากยิ่งขึ้นรวมทั้งผู้เขียนได้เสนอสะท้อน
                    ให้เห็นถึงผลกระทบทั้งด้านดีและด้านเสียของโครงการEECที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วน
                    ท้องถิ่นในอนาคต โดยวิเคราะห์ผ่านกรอบของทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ ในทางเศรษฐศาสตร์ทางการเมือง การที่
                    ผู้เขียนได้เสนอโมเดลพัฒนาโครงการEECดังกล่าวและใช้ทฤษฎีทฤษฎีเสรีนิยมแนวใหม่ของเศรษฐศาสตร์ทาง
                    การเมืองมาอ้างอิงนั้นเหตุผลเพราะผู้เขียน มีความเข้าใจว่าการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่หรือ NPM นั้น
                    เป็นสิ่งที่นํามาใช้กันโดยปัจจุบันมาก ในหน่วยงานของราชการทั่วไปแต่ผู้เขียนเพียงเสนอแนะเพื่อมีให้มีการ

                    เพิ่มเติมและปรับปรุงบางส่วนเพื่อให้การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ที่รัฐได้บริหารปัจจุบัน เกิดประสิทธิภาพ
                    และประสิทธิผลมากขึ้นจึงเป็นเหตุผลที่นํามา เสนอแนะให้รัฐบาลมีการปรับปรุงเพิ่มเติมและแก้ไขในส่วนของ
                    การพัฒนาการบริหารงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดีมากยิ่งขึ้น


                                                        เอกสารอ้างอิง
                    สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ,2559, หน้า16-17

                    สํานักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2559). แผนงาน พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ
                         ภาคตะวันออก พ.ศ. 2560-2564. วันที่ค้นข้อมูล 14 มีนาคม 2564, เข้าถึงได้จาก
                         www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6 381
                    มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และกอบกุล รายะนาคร. (2552). เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม.
                         กรุงเทพฯ: ล๊อคอินไซน์เวิร์ค.

                    กฤช เพิ่มทันจิตต์และสุธีประศาสนเศรษฐ. (2530). พื้นที่สามจังหวัดชายฝั่งทะเล ตะวันออกกับการพัฒนาที่ไม่
                         เท่าเทียมกันระหว่างภูมิภาคและการพัฒนาแบบ พึ่งพาของระบบเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย

                         สังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
                    ชัยณรงค์ เครือนวน. (2558). ปฏิบัติการและการต่อสู้ทางวาทกรรมในการพัฒนา อุตสาหกรรม: ศึกษากรณี
                         การพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้ตัวแบบมาบตาพุด. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชา

                         เศรษฐศาสตร์การเมืองและการ บริหารจัดการ, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.







                                                        63                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75