Page 68 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 68
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
โดยใช้ตัวแบบแนวคิดการบริหารจัดการนิยมของ (NPM) คือ การนําเอารูปแบบ วิธีและเทคนิค
การบริหารจัดการในภาคเอกชนเอกชนเป็นการบริหารจัดการในแบบที่ว่ามืออาชีพลงไปทําด้วยตนเอง (Hands
– On Professional Management) การมีตัวชี้วัดและมาตรฐานในการทํางานที่แน่นอน โดยเน้นผลลัพธ์ใน
การบริหารจัดการความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร และการให้ความสําคัญกับความใกล้ชิดกับลูกค้า โดยผู้เขียน
มีโมเดลการคิด คือ 2IP (I=Image),(I=Improve),(P=Person) ดังนี้
1. I=Image สร้างภาพลักษณ์องค์กร: องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างรูปแบบกิจกรรม
เพื่อการพัฒนาที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน และสอดคล้องกับภารกิจอย่าง
เหมาะสม โดยการสื่อสารผลงานเด่นส่งเสริมการนําผลงานไปเผยแพร่ในเวทีต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบ
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อการเข้าถึงสังคมในภาพกว้าง การกําหนดมาตรฐานกลางในการให้บริการประชาชน
ตามอํานาจหน้าที่จัดทํา Best Practices การบริการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเผยแพร่ผลงานใน ทุก
โอกาสและส่งเสริมการดําเนินงานให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานกลางที่กําหนด การสร้างระบบการ
ประชาสัมพันธ์กลางเพื่อให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนําเสนอผลงานด้านต่างๆ
2. I = Improve เป็นการปรับปรุง พัฒนา กฎ ระเบียบ ให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับ
สถานการณ์: องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาแนวทาง กลไก ระเบียบขึ้นมาใหม่เพื่อการกําหนดภารกิจ
ขอบเขต อํานาจหน้าที่ มีความโปร่งใส ทันสมัย คล่องตัว มีขนาดองค์กรที่เหมาะสม เกิดความคุ้มค่าให้ชัดเจน
และ ไม่ซ้ําซ้อน การกําหนดหลักเกณฑ์ มาตรฐาน การอนุมัติ อนุญาต การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา
การบริการวิชาการ การกํากับการดําเนินงาน กําหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการให้บริการสาธารณะ ขั้น
พื้นฐานเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ตามขีดความสามารถและความ
พร้อม รวมถึงการจัดทําข้อเสนอแนะการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษ ภาค
ตะวันออก ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลสําคัญให้ความเห็นว่าในการส่งเสริมการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก องค์การบริหารส่วนจังหวัดในฐานนะหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับ
ประชาชน และมีข้อมูลเชิงพื้นที่ในเชิงลึก ดังนั้นจึงเสนอให้มีกองใหม่ที่ทําหน้าที่เฉพาะในการสนับสนุนเขต
พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในองค์การบริหารส่วนจังหวัด เนื่องจากมีการบริหารจัดการที่คล่องตัวกว่า ราชการ
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประกอบกับที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงในเชิงของผู้บริหารมีความคงที่ ทําให้การ
ดําเนินงานและสนับสนุนนโยบายต่างๆ จะมีความต่อเนื่อง โดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ดังนี้
ฝ่ายฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ จะมีหน้าที่ในการสร้างระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่มีมาตรฐานทันสมัย
และมี คุณภาพ สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงที่
สามารถ เชื่อมโยงข้อมูลกลางในระดับพื้นที่และทั้งประเทศ หรือระหว่างหน่วยงานภายในขององค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดและจัดให้มีสถานที่กลางสําหรับเป็นคลังข้อมูลทั่วไปพร้อมระบบการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อเป็นข้อมูล
สําผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียใช้ประกอบการตัดสินใจ ฝ่ายจัดการความรู้มีหน้าที่ในการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์
ข้อมูลเกี่ยวกับเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก ให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบถึงประโยชน์
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อ สร้างทัศนคติและการมีส่วนร่วมของประชาชน ฝ่ายประสานงาน ทําหน้าที่
ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เกี่ยวกับเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออกทั้งหน่วยงานในพื้นที่และหน่วยงาน
นอกพื้นที่ ทั้งในเรื่องการประชุม การแลกเปลี่ยนข้อมูล ตลอดจน การทําบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ
หน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ฝ่ายบูรณาการแผน มีหน้าที่วิเคราะห์แผนงาน โครงการ ที่
เกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกของหน่วยงานต่างๆ มาบูรณาการซึ่งกันและกันเพื่อลดความ
ซ้ําซ้อนของแผนงานโครงการ
61 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย