Page 73 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 73
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
This article presents the problem of local decentralization in Thai as a whole.
Compiled from textbooks, articles and various online medias. The solution to the problem of
decentralization in the past until the present is not concretely and not yet complicates many
problems such as administrative problems Treasury management problems and Delays in
decentralization etc. Therefore, it is a matter that requires cooperation from all parties
involved in solved problems. So the author ′s suggest that an attractive alternative to solved
the problem of decentralization of Thai local as a whole. By adopted the model of
Collaborative Governance. Which is an attractive alternative applied to solved the problem of
decentralized Thai local as a whole to be more concretely.
Keyword: Attractive Alternative; Decentralization Problems; Local Government
บทนํา (Introduction)
การปกครองท้องถิ่นเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ในเชิงอํานาจของการจัดสรรทรัพยากรให้กับ
ท้องถิ่น ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นลักษณะของการจัดทําบริการสาธารณะในท้องถิ่นภายใต้การถ่ายอํานาจจากรัฐบาล
กลางสู่การตัดสินใจของประชาชน โดยมีเป้าหมายอันแท้จริงก็คือการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถปกครอง
ตนเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการปกครองท้องถิ่นจะมุ่งเน้นและให้ความสําคัญอย่างมากกับหลักการกระจายอํานาจ
การปกครอง การกําหนดสัดส่วนอํานาจของการปกครองและความเป็นอิสระในการบริหารงานระหว่างรัฐบาล
กลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กําลังพัฒนาระบอบ
การเมืองการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้น การปกครองท้องถิ่นนับเป็นพื้นฐาน (Training Ground)
ที่สําคัญในการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิเสรีภาพและขอบเขตของการปกครองตนเอง โดยเฉพาะการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความเข้มแข็งของประชาชนและศักยภาพของการปกครองท้องถิ่นจะเป็น
ตัวที่ชี้ให้เห็นว่า อํานาจอธิปไตยย่อมเป็นของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนเป็นสําคัญ (ปัณณธร
เธียรชัยพฤกษ์, 2561)
การกระจายอํานาจการปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นแนวคิดที่มีมานาน
นับตั้งแต่เริ่มมีรัฐธรรมนูญ โดยเป็นแนวคิดที่ถือเป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
โดยต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองภายในท้องถิ่นของตน ทั้งเป็นแนวคิดที่เชื่อว่า
จะสามารถลดความเหลื่อมล้ําในด้านต่างๆ ได้ การปกครองท้องถิ่นได้รับการบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
หลายฉบับแต่ที่ชัดเจนที่สุด คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ที่มีการบัญญัติไว้เป็น
หมวดการปกครองท้องถิ่นที่ชัดเจน โดยวางหลักการว่า ท้องถิ่นต้องมีความเป็นอิสระและสามารถปกครอง
ตนเองได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ถูกจัดตั้งขึ้นทั่วประเทศทั้งในรูปแบบทั่วไปและรูปแบบพิเศษ มีอํานาจ
หน้าที่และภารกิจมากมายตามที่กฎหมายกําหนด กระทั่งปัจจุบันการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นได้ดําเนินมานานหลายสิบปี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินงานตามอํานาจหน้าที่และภารกิจที่ได้รับ
การถ่ายโอนเรื่อยมา แต่สภาวการณ์ของการปกครองท้องถิ่นกลับมีแต่ปัญหาสะสมมากมาย จนกลายเป็นว่า ยิ่ง
นับวันการปกครองท้องถิ่นกลับไม่มีอิสระในการปกครองตนเอง ยิ่งนับวันท้องถิ่นกลับไม่สามารถปกครอง
66 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย