Page 74 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 74

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    ตนเองได้ ต้องพึ่งพารัฐส่วนกลางมากขึ้น ประชาชนในท้องถิ่นไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง

                    ได้ (ภิรมย์พร ไชยยนต์ , 2557, น.1-2)

                              องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นองค์กรภาครัฐที่จัดตั้งตามหลักการกระจายอํานาจการ
                    ปกครอง (Decentralization) เปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มย่อยในแต่ละท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการเลือกผู้นํา
                    ของตน ให้เข้ามาทําหน้าที่บริหารจัดการสนองความต้องการ พร้อมทั้งแก้ปัญหาของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ
                    อย่างรวดเร็วตรงความต้องการและด้วยความทั่วถึง ขณะเดียวกันก็จะเห็นผลตอบรับในทันทีด้วย (นภาจรี จิ
                    วะนันทประวัติ, 2557, น. 1) อันเป็นหลักการที่รัฐมอบอํานาจการปกครองบางส่วนให้องค์กรปกครองส่วน
                    ท้องถิ่นในการจัดทําบริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ
                    ประชาชนในท้องถิ่นของตน โดยกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบุคลากร งบประมาณและมีอํานาจ
                    อิสระในการบริหารจัดการ ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การวางระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การ
                    จัดทําบริการและสวัสดิการสังคม ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐบาล (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2559)

                    สําหรับประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

                                  1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป จัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดตั้ง
                    ขึ้น โดยมีลักษณะหรือองค์ประกอบที่มีความคล้ายคลึงกันทั่วประเทศ (สมคิด เลิศไพฑูรย์, ม.ป.ป.) ทั้งนี้องค์กร
                    ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปของประเทศไทยจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท (สิวาพร สุขเอียด, ม.ป.ป.) ได้แก่
                                    1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีโครงสร้างการบริหาร คือ สภาองค์การบริหาร
                    ส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กํากับดูแล
                                    2) เทศบาล มีโครงสร้างการบริหาร คือ สภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีโดยมีผู้ว่า
                    ราชการจังหวัด เป็นผู้กํากับดูแล (โดยแบ่งออกเป็นเทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตําบล)
                                    3) องค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) มีโครงสร้างการบริหาร คือ สภาองค์การบริหารส่วน
                    ตําบลและนายกองค์การบริหารส่วนตําบลโดยมีนายอําเภอเป็นผู้กํากับดูแล

                                        2. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี
                    ลักษณะ หรือองค์ประกอบบางประการแตกต่างไปจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่ว ๆ ไป ความแตกต่างนี้
                    สืบเนื่องมาจากลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ เอง เช่น เป็นท้องถิ่นที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจมาก มี
                    ประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น หรือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง มีนักท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก (สมคิด
                    เลิศไพฑูรย์, ม.ป.ป.) การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษของประเทศไทยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่
                                  1) กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีโครงสร้างการบริหาร คือ สภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และ
                    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

                                  2) เมืองพัทยา มีโครงสร้างการบริหาร คือ สภาเมืองพัทยาและนายกเมืองพัทยา

                                                        เนื้อหา (Body)
                    การปกครองท้องถิ่นของไทย

                              ประเทศไทยได้ใช้หลักการจัดระเบียบการปกครองทั้ง 3 รูปแบบ ในที่นี้จะขอสรุปลักษณะการ
                    กระจายอํานาจให้การปกครองท้องถิ่นของไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
                    ดังนี้
                              ช่วงแรก ตั้งแต่การปฏิรูประบบราชการสมัย ร.5 จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                    พ.ศ. 2475 ช่วงนี้รัฐยังรวมศูนย์อํานาจการปกครองไว้ที่ส่วนกลางเป็นส่วนใหญ่ การแบ่งอํานาจให้ภูมิภาค และ

                                                        67                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79