Page 75 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 75

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    กระจายอํานาจให้ท้องถิ่นยังมีน้อย ในส่วนกลางมีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ส่วนภูมิภาคมีการ

                    จัดตั้งแขวง อําเภอ เมือง ส่วนท้องถิ่นมีการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ กับสุขาภิบาลหัวเมือง โดยได้ตรา
                    พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 ขึ้น รองรับการจัดตั้งสุขาภิบาลในพื้นที่ที่พร้อม ซึ่งมี
                    การจัดตั้งน้อยมาก ไม่ได้ขยายไปทั่วราชอาณาจักร
                              ช่วงที่สอง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2540 เป็นช่วง 65 ปีที่มี
                    วิวัฒนาการของการปกครองท้องถิ่น หรือการกระจายอํานาจมาก เริ่มจากการจัดตั้งเทศบาลในปี 2476 สภา
                    จังหวัดในปี 2481 สุขาภิบาลในปี 2495 องค์การบริหารส่วนตําบลในปี 2499 เป็นการเริ่มให้มีรูปแบบการ
                    ปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองก่อน แม้จะมีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่น แต่ผู้บริหารของสุขาภิบาลและองค์การ

                    บริหารส่วนจังหวัดยังมาจากข้าราชการและผู้บริหาร อบต. มาจากกํานัน ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งของ
                    ราษฎร การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงไม่สามารถทําได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นเริ่มมีการจัดการปกครอง
                    ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เช่น กรุงเทพมหานครเมื่อปี 2518 เมืองพัทยาเมื่อปี 2521 ต่อมาก็ได้มีการปรับรูปแบบ
                    ขององค์กร ปกครองท้องถิ่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น พ.ร.บ. กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 พ.ร.บ.สภาตําบลและ
                    องค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537
                              ช่วงที่สาม ปี 2540 - ปัจจุบัน เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                    พ.ศ. 2540 จึงได้กําหนดเรื่องการกระจายอํานาจให้ท้องถิ่นไว้ชัดเจนขึ้น โดยให้ท้องถิ่นมีอํานาจอิสระในการ
                    บริหารงานของตนเองมากขึ้น ผู้บริหารและสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง เพิ่มเติมหน้าที่เกี่ยวกับการทํานุ
                    บํารุง ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีกฎหมายรองรับให้มี

                    เป้าหมายในการกระจายอํานาจที่ชัดเจน เช่น ให้ท้องถิ่นมีรายได้เป็น 20 % ของรายได้รัฐบาลภายใน
                    ปี 2544 และ 35 % ภายในปี 2549 ดําเนินการถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ที่มีความซ้ําซ้อนระหว่างส่วนกลาง
                    ภูมิภาค กับท้องถิ่นให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี ทําให้ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายของท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ เพื่อให้
                    สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และจัดตั้งองค์กรรองรับเพื่อให้การกระจายอํานาจการปกครองแก่ท้องถิ่นเกิดขึ้น
                    อย่างจริงจัง เป็นรูปธรรม ภายใต้กรอบเวลาและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบฉบับ
                    ต่างๆ
                              ดังนั้น หากพิจารณาในแง่รูปแบบและความสัมพันธ์ของการจัดระเบียบการปกครองแล้ว สรุปได้

                    ว่า การปกครองท้องถิ่นของไทย ในระยะแรก เป็นรูปแบบที่ส่วนกลางมีอํานาจมาก ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการ
                    แต่งตั้งเป็นส่วนใหญ่ ขาดอํานาจอิสระ ทางการเงิน การคลัง การจัดเก็บภาษีอากรต่างๆ ต่อเมื่อมีการ
                    ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 แล้ว จึงมีการปรับปรุงรูปแบบขององค์กรปกครอง
                    ท้องถิ่น เพิ่มหน้าที่กระจายอํานาจด้านการเงิน การคลัง งบประมาณ และการจัดเก็บภาษีต่างๆ มากขึ้น และ
                    เพิ่มมิติใหม่ในการควบคุมตัวผู้บริหารท้องถิ่นโดยประชาชน ด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบังคับท้องถิ่น และเข้าชื่อ
                    ถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นได้ด้วย ซึ่งเมื่อมีการกระจายอํานาจให้แก่ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่
                    เกี่ยวข้องครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ท้องถิ่นก็จะมีอํานาจอิสระในการบริหารงานของตนเองได้มากขึ้น โดย
                    ส่วนกลางก็ยังมีกลไกในการกํากับดูแลการดําเนินการของท้องถิ่นผ่าน คณะกรรมการระดับต่างๆในรูปแบบ

                    ไตรภาคี ทําให้การใช้อํานาจจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เกิดดุลยภาพที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
                    พลวัตร กฎหมายใหม่
                              ตัวบทกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกระจายอํานาจ (ทั้งทางตรงและโดยอ้อม) อธิบาย
                    เรียงลําดับเวลาได้ดังนี้
                              - พ.ศ.2537 ประกาศใช้ พ.ร.บ.สภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ.2537 ส่งผลให้มี
                    การยกฐานะสภาตําบลเป็น อบต. จํานวนมาก

                                                        68                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80