Page 78 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 78

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                                 (4) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 284,

                    285, 286 และ 287 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550)
                              รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ที่ผ่านการลงประชามติหมวดที่ 14 การ
                    ปกครองส่วนท้องถิ่น มี 6 มาตรา มาตรา 249 ถึง มาตรา 254
                                 มาตรา 249 ภายใต้บังคับมาตรา 1 ให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการ
                    ปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ตามวิธีการและรูปแบบองค์กรปกครองส่วน
                    ท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติ
                                 มาตรา 250 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอํานาจดูแล และจัดทําบริการสาธารณะ

                    และกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริม
                    และสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                                 มาตรา 251 การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามที่กฎหมาย
                    บัญญัติ ซึ่งต้องใช้ระบบคุณธรรมและต้องคํานึงถึงความเหมาะสมและความจําเป็นของแต่ละท้องถิ่นและองค์กร
                    ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ การจัดให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องกันเพื่อให้สามารถพัฒนาร่วมกัน หรือการ
                    สับเปลี่ยนบุคลากรระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันได้
                                 มาตรา 252 สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการ
                    เลือกตั้งหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น หรือในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จะให้
                    มาโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องคํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                                 มาตรา 253 ในการดําเนินงาน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาท้องถิ่นและผู้บริหาร
                    ท้องถิ่น เปิดเผยข้อมูลและรายงานผลการดําเนินงานให้ประชาชนทราบ รวมตลอดทั้งมีกลไกให้ประชาชนใน
                    ท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
                                 มาตรา 254 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อกัน เพื่อ
                    เสนอข้อบัญญัติหรือเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
                    เงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ

                              รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น จะ
                    เห็นได้ว่าจะต้องมีการจัดทํากฎหมายรองรับเกิดขึ้น ซึ่งแตกต่างกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                    พุทธศักราช 2540 และพุทธศักราช 2550 ที่กําหนดรายละเอียดอย่างชัดเจนว่าจะต้องทํากฎหมายท้องถิ่นใด
                    แต่ในรัฐธรรมนูญนี้จะเน้นให้ทํากฎหมายรองรับตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด ดังนั้น ในการจัดทํากฎหมายรองรับ

                    ดังกล่าว จะต้องได้รับข้อเสนอจากประชาคมท้องถิ่นทั้งหลาย ในการร่วมกันจัดทําข้อเสนอเบื้องต้นในกฎหมาย
                    ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความร่วมมือของหลายๆ ฝ่าย เพื่อรณรงค์ให้มีการขับเคลื่อนกฎหมายท้องถิ่นตาม
                    รัฐธรรมนูญนี้โดยให้เป็นไปตามหลักการและเป้าหมายของการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่นตามเจตนารมณ์ของการ
                    ปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นและความสามารถในการปกครองตนเองในด้านรายได้
                    จํานวนและความหนาแน่นของประชากร และพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบประกอบกันด้วย (โชคสุข กรกิตติชัย,
                    2560)

                    ปัญหากระจายอํานาจการปกครองส่วนท้องถิ่น
                              กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้สรุปปัญหาการปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วน
                    ท้องถิ่นไทย ทําให้การปกครองท้องถิ่นของไทยมีความเป็นประชาธิปไตยและมีความเป็นอิสระมากขึ้นอย่างเห็น




                                                        71                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83