Page 77 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 77

PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021

                    และเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่

                    โดยคํานึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น” นอกจากนี้ในการด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น
                    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ยังได้ระบุไว้ในหมวด 9 รวมทั้งหมด 9 มาตรา อันเริ่ม
                    ตั้งแต่มาตราที่ 282 ถึงมาตรา 290 ซึ่งโดยรวมแล้วพบว่า มาตราทั้งหมดกล่าวถึงการที่รัฐจะต้องให้ความเป็น
                    อิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น โดยองค์กร
                    ปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีอิสระในการกําหนดนโยบายการปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงิน
                    การคลังและมีอํานาจหน้าที่ของตนเอง โดยเฉพาะโดยรัฐบาลเป็นเพียงผู้ทําหน้าที่ในการกํากับดูแลองค์กร
                    ปกครองส่วนท้องถิ่นเท่าที่จําเป็นภายในกรอบของกฎหมายเท่านั้น

                              เพื่ออนุวัตตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 284 จึงได้มีการตรา
                    พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ขึ้น
                    ซึ่งมีเนื้อหาสาระในการกําหนดอํานาจและหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วน
                    ท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง โดยพยายามถ่ายโอนภารกิจหน้าที่หลายประการที่
                    รัฐดําเนินการอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็สามารถรับผิดชอบในการดําเนินการได้
                    รวมทั้งกําหนดให้มีการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
                    ตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้แบ่งโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน
                    ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การบริหารราชการส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาคและการบริหารราชการ
                    ส่วนท้องถิ่น โดยการบริหารราชการส่วนกลางเป็นการรวมอํานาจ (Centralization of Power) การบริหาร

                    ราชการส่วนภูมิภาคเป็นการแบ่งอํานาจ (Deconcentralization of Power) และการบริหารราชการส่วน
                    ท้องถิ่นเป็นการกระจายอํานาจ(Decentralization of Power) การพัฒนาประเทศที่ผ่านมามีลักษณะการ
                    บริหารแบบรวมศูนย์อํานาจไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อความมั่นคงและความสะดวกในการบริหารงาน และด้วยเงื่อนไข
                    และข้อจํากัดอันเนื่องมาจากระบบโครงสร้าง ระบบงบประมาณ บุคลากรและศักยภาพในการดําเนินงานของ
                    การบริหารงานแบบรวมศูนย์ ทําให้การดําเนินการต่างๆ ของรัฐบาลไม่อาจตอบสนองความต้องการที่
                    หลากหลายของประชาชนในด้านการบริการและการอํานวยประโยชน์ได้ ดังนั้นจึงเกิดแนวความคิดในเรื่องการ
                    กระจายอํานาจการบริหารการปกครองให้ประชาชนในท้องถิ่น (ราชการบริหารส่วนภูมิภาค) เพื่อแบ่งเบา

                    ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐบาลและเพื่อให้การดําเนินการให้บริการและอํานวยการด้านต่างๆ
                    สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง ทั่วถึงและรวดเร็วและประการสําคัญอีก
                    ประการหนึ่ง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย
                    (วุฒิสาร ตันไชย, 2557)
                              รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 หลักการสําคัญที่ส่งเสริมการปกครองตนเอง
                    ของชุมชนท้องถิ่นได้รับการรับรองโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอันประกอบไปด้วย (สํานักงานคณะกรรมการ
                    ข้อมูลข่าวสารของราชการ)
                                 (1) หลักความเป็นอิสระขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281, 282 และ 283 ของ

                    รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550)
                                 (2) หลักประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครอง
                    ส่วนท้องถิ่น (มาตรา 283 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550)
                                 (3) หลักการจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหาร
                    ราชการแผ่นดิน (มาตรา 282 ของรัฐธรรมนูญ 2550)



                                                        70                     สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82