Page 76 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 76
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
- พ.ศ.2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 ถือกําเนิด พร้อมมีเนื้อหาสนับสนุน
การปกครองท้องถิ่นและการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่นบัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญมากมาย รวมแล้ว 10 มาตรา
ด้วยกัน
- พ.ศ.2542 ถึง พ.ศ.2543 มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น
ขนานใหญ่ รวมถึงได้มีการตรากฎหมายใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอํานาจอีกหลายฉบับ ทั้งนี้ เพื่ออนุวัติ
ให้สอดคล้องตามรัฐธรรมนูญ พร้อมกันกับที่กระทรวงมหาดไทย ยกเลิกการเข้าดํารงตําแหน่งของทั้งผู้ว่าฯ ใน
อบจ. นายอําเภอ ในสุขาภิบาล ตลอดจนกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ใน อบต. ลงอย่างสิ้นเชิง
- พ.ศ.2542 ประกาศใช้กฎหมายกระจายอํานาจฉบับสําคัญ คือ พ.ร.บ.กําหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ให้มี “คณะกรรมการการกระจายอํานาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” มากําหนดรายละเอียดอํานาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ
ระหว่างรัฐกับ อปท. และระหว่าง อปท. ด้วยกันเอง รวมถึงวางแนวทางการถ่ายโอนภารกิจอํานาจหน้าที่ และ
รายได้ต่างๆ จากรัฐบาลกลางลงสู่ท้องถิ่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่กฎหมายกําหนดให้ต้องแบ่งรายได้ไม่
น้อยกว่า ร้อยละ 35 ของงบประมาณแผ่นดินให้แก่ อปท. ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2549)
- พ.ศ.2543 กฎหมายกําหนดให้นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองและเทศบาลนครมีที่มาจากการ
เลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นครั้งแรก
- พ.ศ.2544 “แผนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” มีผลใช้บังคับ
- พ.ศ.2545 ประกาศใช้ “แผนปฏิบัติการเพื่อกําหนดขั้นตอนการกระจายอํานาจตามแผนการ
กระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
- พ.ศ.2546 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เริ่มเข้ามาควบคุมดําเนินการจัดการเลือกตั้ง
ท้องถิ่นทุกประเภทแทนกระทรวงมหาดไทย ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
พ.ศ.2545
- พ.ศ.2546 ได้มีการเร่งรัดปรับปรุงโครงสร้าง อปท. รูปแบบอื่นๆ ให้เป็นมาตรฐานแบบเดียวกัน
ทั้งหมด นั่นคือ รูปแบบ นายก-สภา (Mayor-Council Form) หรือเป็นแบบ ผู้บริหารเข้มแข็ง (Strong
Mayor Form) พร้อมทั้งทยอยยกเลิกคณะผู้บริหารที่มาจากมติของสภาท้องถิ่นด้วยการระบุให้นายก อบจ.
นายกเทศมนตรีตําบล ตลอดจนนายก อบต. มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง และกําหนด
รายละเอียดกลไกความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาให้มีความชัดเจนขึ้น (ณัฐกร วิทิตานนท์, 2550)
- พ.ศ.2549 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 เนื่องจากการปฏิบัติตามแผนและขั้นตอนการ
กระจายอํานาจในการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กําหนดไว้ไม่อาจดําเนินการได้ตาม
กําหนดระยะเวลา ทําให้การกําหนดสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามาตรา 30 (4) แห่ง
พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ไม่
สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในการถ่ายโอนภารกิจ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมการกําหนดสัดส่วนรายได้ขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามสภาพข้อเท็จจริงนั้น และยังคงเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนรายได้ขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ได้รับไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 เช่นเดิม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 – 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 78 กําหนดว่า “รัฐจะต้องกระจาย
อํานาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบ
สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง
69 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย