Page 80 - Microsoft Word - PAAT Journal V5-2021-awt-v2
P. 80
PAAT Journal Vol. 3 No. 5, June 2021
1) การขาดเอกภาพในการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่น กล่าวคือ กระทรวงมหาดไทย ยังคง
ควบคุมและหาประโยชน์จากท้องถิ่นอยู่เสมอ โดยมีการจัดตั้งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขึ้นมาเมื่อปี
2545 การควบคุมสันนิบาตเทศบาลฯ และสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ และหน่วยงานราชการส่วน
ภูมิภาค โดยเฉพาะท้องถิ่นอําเภอ ท้องถิ่นจังหวัด นายอําเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด มีอํานาจในการอนุมัติ
โครงการต่างๆ ของท้องถิ่น
2) ท้องถิ่นขาดความเป็นอิสระ เนื่องจากหน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมัก
ใช้รูปแบบของการควบคุมมากกว่าการกํากับดูแล ทําให้ท้องถิ่นมักมีข้อจํากัดในด้านของกฎระเบียบข้อบังคับ
เช่น ด้านกฎหมาย มีการกําหนดชัดเจนว่า ท้องถิ่นมีหน้าที่ทําอะไรบ้าง
3) ความลักลั่นในการกระจายอํานาจ ปีพ.ศ.2546 ได้เร่งรัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหาร
ท้องถิ่นโดยตรงในเวลาอันสั้นเกินควร ในขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ยังไม่ได้ให้มาจากการเลือกตั้ง
4) การทับซ้อนของอํานาจ คือ การที่แต่ละท้องถิ่นมีหน่วยงานหลายประเภทดํารงอยู่ใน
พื้นที่เดียวกัน เช่น ในจังหวัดมีทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในอําเภอก็มี
นายอําเภอกับนายกเทศมนตรี ระดับตําบลก็มีนายกองค์การบริหารส่วนตําบล กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน
ซึ่งความทับซ้อนดังกล่าวก่อให้เกิดความสับสนในหมู่ประชาชนและยังขาดเอกภาพในการแก้ไขปัญหาใน
ท้องถิ่นอีกด้วย
5) ความล่าช้าในการกระจายอํานาจด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุข สืบเนื่องจาก
หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยังดํารงอยู่อย่างมั่นคงและยาวนาน ซึ่งที่ผ่านมาข้าราชการเกิดการ
ต่อต้านที่จะย้ายไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะการทํางานอยู่กับส่วนกลาง หรือส่วนภูมิภาคมี
ความมั่นคง มีงบประมาณมากมาย สามารถที่ไต่เต้าขึ้นไปสู่ตําแหน่งที่สูงกว่า มีความสะดวกในการใช้ชีวิตใน
เมืองใหญ่ รวมทั้งโอกาสทางการศึกษาของบุตรหลาน
6) การรวมศูนย์อํานาจที่ยังคงอยู่และแยกส่วน โดยเฉพาะข้าราชการส่วนกลางและส่วน
ภูมิภาค ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ขาดการแบกรับภาระความรับผิดชอบ ต้องย้ายไปรับตําแหน่งใหม่อยู่เรื่อย
จึงทําให้การบริหารงานขาดความต่อเนื่อง และบ่อยครั้งที่ทําให้แผนพัฒนาของท้องถิ่นมักถูกลบด้วยข้อคิดเห็น
ของฝ่ายราชการ
สรุปได้ว่าปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อาจนํามาจัดเป็น
กลุ่มของปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้
1) ปัญหาทางด้านการบริหารงาน เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ
จะมีภาระหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ กําหนดไว้
เป็นการเฉพาะ ทําให้ประสบปัญหาด้านการบริหารงานต่างๆ ทําให้การบริหารงานไม่คล่องตัวเท่าที่ควร
โดยเฉพาะการกํากับของรัฐบาลส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การดําเนินงานจะต้องอยู่ภายในกรอบและขอบเขต
ที่กฎหมายกําหนด ซึ่งอาจมีผลให้การจัดทําบริการสาธารณะไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของ
ราษฎรได้
2) ปัญหาทางด้านการบริหารการเงินการคลัง การดําเนินภารกิจต่างๆ กฎหมายต่างๆ
ได้กําหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น การดําเนินงานทุกประเภท
จําเป็นต้องมีรายได้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานจัดทําบริการสาธารณะ ซึ่งมีปริมาณไม่มากนัก ดังนั้น
รัฐบาลจึงได้จัดสรรเงินอุดหนุนจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) ปัญหาทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารงานบุคคลบางประการที่ยัง
ไม่ได้แก้ไขให้เป็นไปตามหลักการตามระบบคุณธรรม มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ที่มักจะนําเอาระบบ
73 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย