Page 115 - thaipaat_Stou_2563
P. 115
งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๓
อย่างชัดเจนขึ้น รวมถึงสนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันให้นโยบาย
ดังกล่าวให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลจะสามารถน าข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการก าหนดนโยบาย
เศรษฐกิจชีวภาพให้ชัดเจน โดยเฉพาะการปรับปรุงแก้ไขในแง่ของการน าปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
และสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้นต่อเกษตรกรไทยผู้ประสบปัญหาด้านการประกอบอาชีพมาโดยตลอด
กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีในกำรวิเครำะห ์
เพื่อที่จะตอบจุดมุ่งหมายดังกล่าว ผู้วิจัยจะใช้กรอบทฤษฎีในการวิเคราะห์ (Analytical Framework)
เรื่องการน านโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) เป็นเครื่องมือในการศึกษา และเลือกวิเคราะห์ผ่าน
ิ
แนวคิดของ Merilee S. Grindle (1980) ที่ศึกษาปัจจัยที่มีอทธิพลต่อความส าเร็จและล้มเหลวของ
กระบวนการน านโยบายไปปฏิบัติ แบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านเนื้อหาสาระของนโยบาย (Content
of Policy) และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของนโยบาย (Context of Policy) ดังนั้น บทความนี้จึงแบ่งการ
น าเสนอออกเป็น 2 หัวข้อตามโครงสร้างทฤษฎีของ Grindle มาใช้ในการวิเคราะห์นโยบาย และชี้ให้เห็นว่า
ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของการขับเคลื่อนนโยบายนั้นประกอบไปด้วยปัจจัยใดบ้าง และท้ายที่สุดแล้วปัจจัย
ใดที่เป็นปัจจัยส าคัญที่สุดซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติของจังหวัดอุบลราชธานี
ส่วนในเรื่องของระเบียบวิธีในการวิเคราะห์ (Research Method) ผู้วิจัยใช้การศึกษาจากเอกสาร
(Documentary Research) โดยจะแบ่งงานที่ศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ 1) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อ
การน านโยบายไปปฏิบัติ 2) เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ นอกจากนี้ ผู้วิจัยจะใช้การ
สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการน านโยบายเศรษฐกิจชีวภาพไป
ปฏิบัติ ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่จากภาครัฐ ประกอบด้วย กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และกรม
ั
ุ
พฒนาที่ดิน กลุ่มเจ้าหน้าที่จากภาคเอกชน คือ กลุ่มบริษัทอบลไบโอเอทานอล และกลุ่มเกษตรกรจาก 4
ิ
อาเภอ คือ อาเภอนาเยีย อาเภอพบูลมังสาหาร อาเภอสว่างวีระวงศ์ และอาเภอวารินช าราบ รวมทั้งสิ้น 20
ราย ในจ านวนเหล่านี้มาจากผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหาร ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงผู้ปฏิบัติงาน
ในพื้นที่
กำรวิเครำะห์ปัจจัยที่มีผลต่อกำรขับเคลื่อนนโยบำยเศรษฐกิจชีวภำพของจังหวัดอุบลรำชธำนี
จากที่ได้กล่าวไปแล้วในส่วนของกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์และระเบียบวิธีในการวิจัย ในส่วนนี้
ผู้เขียนได้แบ่งการน าเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 2 ส่วนคือ 1. ปัจจัยด้านเนื้อหาสาระของนโยบาย (Content
of Policy) และ 2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของโครงการหรือนโยบาย (Context of Policy)
1. ปัจจัยด้ำนเนื้อหำสำระของนโยบำย (Content of Policy) การก าหนดเนื้อหาสาระของนโยบาย
จากผู้บริหาร เปรียบเสมือนเข็มทิศให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบและผู้ปฏิบัติงานเข้าใจวัตถุประสงค์และแนวทาง
ของนโยบาย และมุ่งหวังให้เกิดการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ก าหนดไว้ จากการศึกษาข้อมูล
พบว่า นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพมีลักษณะบอกเป็นแนวทางปฏิบัติในภาพกว้าง ปราศจากความชัดเจน ตั้งแต่
การก าหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด แนวทางปฏิบัติ รวมถึงหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ส่งผลให้เกิดความไม่
สอดคล้องระหว่างการก าหนดนโยบายระดับชาติและแผนในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับกระทรวง กรม และ
จังหวัด หน่วยงานผู้ขับเคลื่อนนโยบายจึงไม่สามารถตีความและแปลงนโยบายไปเป็นแผนปฏิบัติได้ถูกต้อง
รวมถึงไม่สามารถทุ่มเททรัพยากรเพอรับผิดชอบนโยบายได้อย่างเต็มความสามารถ
ื่
เมื่อพจารณาตามรายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ
ิ
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้ก าหนดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหนึ่งในหน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ี
หลักในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ อกทั้งรัฐบาลได้บรรจุนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพลงในกรอบ
ั
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 – 2579 และแผนพฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
พ.ศ. 2560 – 2564 แต่เมื่อศึกษาจากยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
กลับไม่พบข้อมูลเกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพแต่อย่างใด ประกอบกับเมื่อตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่
113